วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ


แบบฝึกหัด

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ                                                                       กลุ่มที่เรียน 1
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                       รหัสวิชา  0026 008
ชื่อ-สกุล นายสุรเดช ช่ำชอง     รหัส  56010911904


เนื้อหา
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับข้อมูล สารสนเทศ ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ ความสำคัญ ประเภท คุณสมบัติของสารสนเทศ ตลอดทั้งแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
แนวคิด
          เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายของข้อมูล และสารสนเทศ เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ ความสำคัญ ประเภท และคุณสมบัติของสารสนเทศ อีกทั้งแหล่งของสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
วัตถุประสงค์
          1. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
          2. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจในความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
          3. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ ประเภทของสารสนเทศ
          4. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
กิจกรรมระหว่างเรียน
          1. นิสิตต้องศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากห้องสมุดด้วยตนเอง
          2. จัดให้มีกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษาในชั้นเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
          3. นิสิตต้องทำรายงานประกอบการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูล และสารสนเทศคนละ 1 หัวข้อ




1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewall) คือ มาตรการหนึ่งที่ใช้ต่อสู้กับไวรัสคือ ไฟร์วอลล์ อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์เป็นอย่างมาก โดยผู้คนเหล่านั้นต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายของตนเองกับอินเตอร์เน็ตเพื่อที่จะได้รับประโยชน์ต่าง ๆ เช่นเพื่อหาข้อมูลเพื่อทำการค้า เป็นต้น แต่การกระทำดังกล่าวทำให้ใครก็ได้บนอินเตอร์เน็ตสามารถเข้ามายังเครือข่ายนั้น ๆ ได้ จึงเกิดปัญหาเรื่องความปลอดภัยของระบบเครือข่ายเช่นการถูกระบบ และขโมยข้อมูล เป็นต้น
          จากปัญหาดังกล่าวทำให้เราต้องมีวิธีการในการรักษาความปลอดภัย สิ่งที่สามารถชวยลดความเสี่ยงนี้ได้ก็คือ ไฟร์วอลล์
          ไฟร์วอลล์ คือ รูปแบบของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ที่ถูกจัดตั้งอยู่บนเครือข่ายเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายภายใน (Internet) โดยป้องกันผู้บุกรุก (Intrusion) ที่มาจากเครือข่ายภายนอก (Internet) หรือเป็นการกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย โดยสามารถกระทำได้โดยวิธีแตกต่างกันไป แล้วแต่ระบบ
          ถ้าผู้บุกรุกมาจากเครือข่ายภายในระบบนี้จะป้องกันไม่ได้ สิที่ป้องกัน เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus), หนอนคอมพิวเตอร์ (worm), การโจมตีแบบ Dos (Denial of service), ม้าโทรจัน (Trojan Horse), ip spoofing ฯลฯ โดยมีลักษณะการบุกรุกดังนี้ เช่น
               - Virus จะแย่งให้หรือทำลายทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ เช่น ไฟล์ข้อมูล, แรม ฯ
               Worm จะแย่งใช้ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ เช่นเขียนไฟล์ขยะลงบนฮาร์ดดิสก์ จนทำให้ฮาร์ดดิสก์เต็ม
          ไฟร์วอลล์ มีขีดความสามารถในการไม่อนุญาตการ Login สำหรับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าใช้งานในเครือข่าย แต่ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ใช้งานจะมีสิทธิ์ใช้งานทั้งภายใน และติดต่อภายนอกเครือข่ายได้ โยจำกัดข้อมูลจากภายนอกเครือข่าย ไม่ให้เข้ามาในเครือข่าย นับเป็นจุดสังเกตการณ์ตรวจจับและรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย เปรียบได้ดังยามที่ทำหน้าที่เผ้าประตูเมือง
          อย่างไรก็ตาม Firewall ไม่สามารถป้องกันการโจมตีจากภายในเครือข่ายกันเอง รวมทั้งไม่สามารป้องกันการบุกรุกที่ไม่สามารถมากับโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ไวรัส และอันตรายในรูปแบบวิธีใหม่ ๆ ได้ สรุปว่า Firewall นั้นจำทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่าง ๆ จากภายนอกที่จะเข้ามายังเครือข่ายของเรานั่นเอง
          Firewall ที่ใช้งาน จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ก็ยังต้องขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรนั้น ๆ รวมถึงจิตสำนึกในการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้ในองค์กรเป็นสำคัญ


2. จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm,virus computer,spy ware,adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม  

เวอร์ม (Worm)
          เวอร์มหรือมาโครไวรัส (Macro Virus) หมายถึงโปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่น ๆ โดยจะแพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ที่อยู่บนเครือข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายกับตัวหนอนที่เจาะไซหรือซอกซอนไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ และแพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอก (Copy) ตนเองออกและส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป เวอร์มเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ใช้มาโครโปรแกรม (Macro Programming) ที่อยู่ในโปรแกรมประยุกต์ในการกระจายหรือแพร่พันธุ์ตัวเอง เช่น มาโครในโปรแกรมไมโครซอฟต์เวอร์ด (Microsoft Word) หรือไมโครซอร์ฟเอ็กเซล (Microsoft Excel) ดังนั้นเมื่อมีการรันโปรแกรมสคริปต์หรือมาโคร เวอร์มจะทำการแพร่กระจายตนเอง ตัวอย่างเช่น เวอร์มที่แนบมากับแฟ้มในอีเมล เมื่อผู้รับเปิดแฟ้มดังกล่าว เวอร์จะเริ่มทำงานทันทีโดจะคัดลอกตนเองและจะถูกส่งไปกับอีกเมลไปให้ผู้อื่นต่อ ๆ ไป


3. ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง 

ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ไวรัสคอมพิวเตอร์มีหลายสายพันธุ์ แต่ละชนิดต่างก็มีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน อาทิเช่น
              - ไวรัสบางสายพันธุ์จะทำการนำขยะหรือข้อมูลอื่น ๆ ไปซ้อนทับข้อมูลเดิมบางส่วนที่ถูกต้องอยู่แล้วในแฟ้มข้อมูลหนึ่ง ๆ ทำให้แฟ้มข้อมูลเดิมผิดเพี้ยนไปจากเดิม
              - ไวรัสบางชนิดจะทำการควบคุมการทำงานของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แทนระบบเดิม โดยกำหนดให้ระบบปฏิบัติการหยุดการทำงานบางหน้าที่ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบคอมพิวเตอร์
              - ไวรัสคอมพิวเตอร์บางชนิดจะทำการเพิ่มเติมบางคำสั่ง (Embedded Commands) ลงในโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะส่งผลให้ระบบปฏิบัติการแสดงผลเป็นข้อความอันเป็นเท็จทางจอภาพ เพื่อเตือนให้ผู้ใช้ทำอะไรบางอย่าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบฯ ได้
              - ไวรัสบางสายพันธุ์จะทำการเปลี่ยนข้อมูลจำนวนเล็กน้อยในโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลหนึ่ง ๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจำนวนน้อยนี้จะทำให้เจ้าของไม่รู้สึกว่าแฟ้มข้อมูลของตนได้รับเชื้อไวรัสเป็นที่เรียบร้อย เมื่อมีการใช้แฟ้มหรือสำเนาแฟ้มดังกล่าวไปยังมี่อื่น ๆก็จะส่งผลให้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นได้รับเชื้อไวรัสไปด้วย


4. ให้นิสิตอธิบายแนวทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ

แนวทางหรือมาตรการในการป้องกัน (Security Measures)
- องค์กรมีนโยบายหรือมาตรการให้ผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทุกคนต้องเปลี่ยนรหัสผ่าน (Password) บ่อย ๆ หรืออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
               - มีการกำหนดสิทธิให้ผู้ใช้ระบบเข้าใช้ระบบในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น
               - องค์กรอาจมีการนำอุปกรณ์ตรวจจับทางชีวภาพ (Biometric devices) มาใช้ในการควบคุมการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์
               - มีการเข้ารหัสข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
               - มีระเบียบปฏิบัติในการควบคุมอย่างชัดแจ้งในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
               - ให้ความรู้อย่าสม่ำเสมอในเรื่องการรักษาความปลอดภัย การเตรียมตัวและการป้องกันการบุกรุกของแฮกเกอร์ (Hackers)หรือแครกเกอร์ (Crakers) รวมถึงขั้นตอนการดูแลรักษาระบบคอมพิวเตอร์เมื่อถูกบุกรุก
               - องค์กรควรมีการดูแลและการตรวจตราข้อมูล แฟ้มข้อมูล รวมถึงการสำรองแฟ้มข้อมูลและระบบ
คอมพิวเตอร์รวมถึงระบบเครือข่าวอย่างสม่ำเสมอ
- การเก็บข้อมูลหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา (Log files)


5. มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่

ปัจจุบัน ภัยคุกคามอันเกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีมากมาย หนึ่งในภัยจากอินเทอร์เน็ตคือเรื่องเว็บลามกอนาจาร ปัจจุบันมีความพยายามที่จะแก้ไขปราบปรามการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง โดยมีประเด็นนี้คือ
          “ผู้ใดประสงค์แจกจ่ายแสดง อวดทำ ผลิตแก่ประชาชนหรือทำให้เผยแพร่ซึ่งเอกสาร ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ แถบยันทึกเสียง บันทึกภาพหรือเกี่ยวเนื่องกับสิ่งพิมพ์ดังกล่าว มีโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ”
          โดยจะบังคับใช้กับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต เซิร์ฟเวอร์ รวมถึงสื่อทุกประเภทอย่างจริงจัง ตัวอย่างซอฟต์แวร์เพื่อดูแลการแก้ไขและป้องกันภายทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ เอาส์ คีพเปอร์ (House Keeper) เป็นโปรแกรมสำกรับแก้ปัญหา “ภาพลามกอนาจาร เนื้อหาสาระที่ไม่เหมาะสม การใช้เว็บไม่เหมาะสมไม่ควร ฯลฯ” โดยนำไปติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน สารวัตรอินเตอร์เน็ตหรือไซเบอร์อินสเปคเตอร์เป็นอีกหน่วยงานที่สอดส่องภัยอินเทอร์เน็ต สารวัตรอินเทอร์เน็ตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บล็อกเว็บไซต์ไม่เหมาะสมและเก็บฐานข้อมูลไว้
          นโยบายจากกระทรวงไอซีที ด้วยตระหนักในการทวีความรุนแรงของปัญหา จึงเกิดโครงการ ไอซีที ไซเบอร์แคร์ (ICT Cyber Care) โดยต่อยอดจากไอซีทีไซเบอร์คลีน (ICT Cyber Clean) แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
             1) ICT Gate Keeper เฝ้าระวังพิษภัยอินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายและวงจรเชื่อมต่อระหว่างประเทศ (Gateway) พัฒนาซอฟต์แวร์นี้โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงไอซีที ได้มอบหมายให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังปิดกั้นข้อมูบไม่เหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง
             2) House Keeper ซึ่งจัดทำเป็นแผ่นซีดีรอม และแจกฟรีให้กับผู้ปกครองหรือดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บไซต์ของกระทรวง โปรแกรมนี้จะมี 3 ส่วน
                     - ส่วนแรก คิดดี้แคร์ ปิดกั้นเว็บไซต์อนาจารและเว็บที่ไม่เหมาะสมที่กระทรวงไอซีที มีข้อมูลคาดว่าจะช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
                     - ต่อมาเป็นส่วนพีเพิลคลีน ติดไอคอนไวที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะคลิกเข้าไปเมื่อพบภาพลามกอนาจาร ประชาชนจึงสามารถเข้ามามีบทบาทช่วยเฝ้าระวังภัยได้เช่นกัน
                     - ส่วนสุดท้าย สมาร์ทเกมเมอร์ (Smart Gamer) แก้ปัญหาการติดแกม และควบคุมการเล่นเกมของเด็ก ๆ ผู้ปกครองจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาของการเล่นเกมและช่วยดูแลเรื่องความรุนแรงของเกม แต่ละส่วนนี้คงต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น