วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน


แบบฝึกหัด

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน                                                กลุ่มที่เรียน 1
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                       รหัสวิชา  0026 008
ชื่อ-สกุล นายสุรเดช ช่ำชอง     รหัส  56010911904


เนื้อหา
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับข้อมูล สารสนเทศ ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ ความสำคัญ ประเภท คุณสมบัติของสารสนเทศ ตลอดทั้งแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
แนวคิด
          เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายของข้อมูล และสารสนเทศ เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ ความสำคัญ ประเภท และคุณสมบัติของสารสนเทศ อีกทั้งแหล่งของสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
วัตถุประสงค์
          1. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
          2. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจในความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
          3. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ ประเภทของสารสนเทศ
          4. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
กิจกรรมระหว่างเรียน
          1. นิสิตต้องศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากห้องสมุดด้วยตนเอง
          2. จัดให้มีกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษาในชั้นเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
          3. นิสิตต้องทำรายงานประกอบการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูล และสารสนเทศคนละ 1 หัวข้อ





1. บทนำ
แนวโน้มในอนาคตภายในครอบครัวจะมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น เช่น โทรศัพท์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วีดิเท็กซ์ ไมโครคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนับตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ และการสื่อสารสารสนเทศรวมทั้งการแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ซึ่งความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศสรุปได้ ดังนี้ 
             ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
             ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
             ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
             ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการจัดเก็บประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศ
             ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
             ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
          บทบาทที่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนในการดำเนินชีวิตของเราไม่ว่าที่ทำงานหรือบ้าน ในชีวิตประจำวัน จะเห็นได้ว่า ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล และความสามารถในการส่งหรือการสื่อสาร ข้อมูลได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยวิวัฒนาการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ เช่น รายการจากข่าวโทรทัศน์ จะเห็นได้ว่าการสื่อสารที่นำข่าวจากจุดต่างๆ ทั่วโลกเข้ามาพร้อมกันในเวลาเดียวกัน สามารถ สื่อสารโต้ตอบและส่งภาพถึงกันได้แม้ว่าจะอยู่คนละสถานที่ที่ห่างไกลกันมาก หรือการส่งข่าวสารในระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อความ ภาพ เสียง ไปให้ผู้อื่นได้ และสื่อสารโต้ตอบกันได้ในเวลาปัจจุบัน โดยเฉพาะระบบเครือข่ายสื่อสารที่เป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบันคือ ระบบ อินเตอร์เน็ต (Internet) ในปัจจุบันภาครัฐและเอกชน เอกชนได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ (Make-decision) โดยการตัดสินใจเป็นกิจกรรมที่สำคัญและต้องตัดสินใจอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาไปมาก นอกจากจะใช้ดำเนินการแล้ว ยังนำมาใช้ในการจัดการด้านธุรกิจด้วย เช่น ธุรกิจทางธนาคารการประกันภัยการท่องเที่ยวโรงงานโรงแรมโรงพยาบาลระบบการศึกษา เป็นต้น
          ดังนั้นเราอาจจะกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามีบทบาทสูงขึ้นอย่างมากในการดำเนินงานและการตัดสินใจของคนในสังคม ปัจจุบันจึงเรียกว่า สังคมสารสนเทศซึ่งหมายถึงการที่สารสนเทศกลายเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงหน่วยต่างๆ ในสังคมเข้าด้วยกัน และสร้างสังคมขับเคลื่อนด้วยสารสนเทศ จึงมีความจำเป็นที่ต้องศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ทราบว่าหมายถึงอะไร ประกอบด้วยอะไร มีบทบาทและความสำคัญหรือความจำเป็นอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต การจัดระบบสารสนเทศที่ดีจะช่วยให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพจะต้องมีความเที่ยงตรงตามเรื่องที่ต้องการใช้ เรียกใช้สะดวก รวดเร็ว และทันต่อเวลา โดยภาพรวมแล้วระบบสารสนเทศโดยทั่วไปจะมีประโยชน์สามประการ ดังนี้
             ประโยชน์ในการบริหารงาน การตัดสินใจสั่งการ การวางแผน การปฏิบัติงานในหน่วยงานนั้นๆ
             ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งระดับสูงกว่าและต่ำกว่า เพื่อให้ระบบสารสนเทศเป็นมาตรฐานเดียวกัน
             ใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์หน่วยงาน

2. ขอบข่ายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
             ขอบข่ายของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และกระบวนการหลายด้าน เช่น การสื่อสารระบบดาวเทียม เทคโนโลยีการจัดการฐานข้อมูล การจัดพิมพ์ระบบอิเล็กทรอนิกส์ การประมวลผลตัวเลข การประมวลผลภาพ คอมพิวเตอร์สำหรับช่วยออกแบบและช่วยการผลิต (CAD/CAM) เป็นต้น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะประกอบด้วย
             2.1 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System)   เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ และทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และให้สารสนเทศสรุปเบื้องต้นของการปฏิบัติงานประจำวันโดยมากจะนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นระบบประมวลผลรายการนี้มักเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้าหรือบุคคลภายนอกมากติดต่อกับ กิจการ เช่น การจองบัตรโดยสารเครื่องบิน การฝาก-ถอนอัตโนมัติ เป็นต้น           1.2ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System)  เป็นระบบสนับสนุนงานธุรการในหน่วยงาน เพื่อให้พนักงานระดับธุรกิจสามารถทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร ได้แก่ การติดต่อประสานงานผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail) ระบบฝากข้อความ (Voice Mail)
             2.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง เพื่อใช้ในการวางแผน บริหารจัดการและควบคุมงาน โดยทั่วไประบบนี้จะเชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในระบบประมวลผลเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ
             2.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)  เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหาที่อาจมีโครงสร้างหรือขั้นตอนการหาคำตอบที่แน่นอนตายตัวเพียงบางส่วนหรือเป็นกรณีเฉพาะ นอกจากนี้ระบบนี้ยังเสนอทางเลือกต่างๆ ให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด หลักการของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสร้างขึ้นจากแนวคิดการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ใช้โต้ตอบตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ตลอดเวลา โดยอาศัยประสบการณ์วิจารณญาณ และความสามารถของผู้บริหารเอง โดยอาจจะใช้การจำลองแบบ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยไม่ต้องเสี่ยงกระทำในสภาพจริง

.หน้าที่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
           เทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับ สารสนเทศ” ตามที่ต้องการถ้าปราศจากเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว จะเป็นการยากอย่างยิ่งในการสื่อสารสารสนเทศทั้งนี้เพราะในภาวะปัจจุบันมีสารนิเทศจำนวนมากมายมหาศาล เพราะการเพิ่มปริมาณของเอกสาร อย่างล้นเหลือ (Publication Explosion) ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “INFORMATION EXPLOSION” ประกอบกับสภาพวะเงินเฟ้อ รวมทั้งความคาดหวังของผู้ใช้สารสนเทศที่ตื่นตัว และมีความต้องการสารสนเทศทั้งในแง่ของความรวดเร็วและความถูกต้อง จึงทำให้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์ต่อผู้ใช้สรุปได้ดังนี้
              ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันอย่างรวดเร็ว ทั้งโทรศัพท์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต ฯลฯ
              เทคโนโลยีสารนิเทศใช้ในการจัดระบบข่าวสาร ซึ่งผลิตออกมาแต่ละวันเป็นจำนวนมหาศาล
              ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกไม่ว่าจะใช้กี่ครั้งก็ตาม
              ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรในด้านการคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
              ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารสนเทศ
              - สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองผลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
              อำนวยความสะดวกใน การเข้าถึงสารสนเทศ” (ACCESS) ดีกว่าสมัยก่อนทำให้บุคคลและองค์กรมีทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
              ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

4. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
           การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาหลายเรื่องด้วยกันได้แก่
             4.1 การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศด้านใดบ้างที่จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานจะเห็นแล้วว่าเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นสามารถนำไปประยุกต์ได้หลายด้าน แม้ในสำนักงานก็มีเทคโนโลยีให้เลือกใช้ได้มากมาย เช่น เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ ระบบประมวลภาพลักษณ์ ระบบประชุมทางไกล ในประเด็นนี้ผู้บริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีนั้นๆ ต้องเข้าใจว่าจะนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้อะไรได้ ใช้แล้วจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างจะเกิดผลกระทบต่อองค์กรอย่างไรบ้าง
             4.2 การวางแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยงานขนาดใหญ่ระดับกระทรวง กรม หรือบริษัทขนาดใหญ่จำเป็นจะต้องมีแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแผนที่สำหรับนำไปสู่การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้นั้น หากไม่ได้วางแผนละควบคุมให้ดี กลับไปเลือกใช้เทคโนโลยีผิดแล้วจะเกิดความเสียหายได้มาก นอกจากจะสิ้นเปลืองเงินลงทุนไปโดยใช่เหตุแล้ว ยังเสียเวลา และทำให้การทำงานปั่นป่วนได้ การวางแผนกลยุทธ์นั้นช่วยให้เห็นภาพรวมของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมของทั้งหน่วยงานได้ชัดเจนขึ้น เกิดความเข้าใจว่าจะต้องพัฒนางานหรือเทคโนโลยีใด เมื่อใด และต้องใช้ทรัพยากรมากเท่าใด
             4.3 การกำหนดมาตรฐาน เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานต่างๆ มาตรฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีอยู่หลายเรื่อง มาตรฐานทางด้านตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องเป็นแบบที่ทำให้เครื่องและอุปกรณ์ทั้งหลายทำงานร่วมกันได้ มาตรฐานทางด้านซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดว่าทั้งองค์กรจะต้องใช้ซอฟต์แวร์แบบไหนบ้าง จะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์อะไร จะใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล มาตรฐานข้อมูลและรหัสข้อมูลแบบไหน หรือใช้โปรแกรมสำเร็จอะไร การใช้ซอฟต์แวร์เป็นมาตรฐานเดียวกันจะทำให้หน่วยงานทำงานได้สะดวกขึ้น ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรมากนัก
             4.การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เราควรลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากสักเท่าใด นี่เป็นคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้ชัดเจน และทำให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศมีปัญหากับ ผู้บริหารองค์กร เพราะผู้บริหารองค์กรไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงต้องลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปมากนัก หรือเหตุใดลงทุนไปแล้วสามารถไม่ได้ผลตอบแทนเท่าที่ควร
             4.5 การจัดองค์กร เมื่อมีแผนงานและงบประมาณสำหรับดำเนินการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ต่อไปก็จำเป็นที่จะต้องพยายามสร้างองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานให้เข้มแข็งมากขึ้น โดยคำนึงถึง
          -หน่วยงานที่จะดูแลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
          -บุคลากรที่เหมาะ
          -ผลตอบแทนต่อบุคลากร
             4.6 การบริหารงานพัฒนาระบบ การพัฒนาระบบนั้นเป็นงานที่ต้องวางแผนอย่างดี และต้องมีหัวหน้าโครงการที่มีความรู้ทั้งทางด้านเทคนิคและทางด้านการสื่อสารทั้งด้วยวาจาและเป็นเอกสาร
             4.7 การจัดการผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คือพยายามทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกที่ดีต่อแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ และขณะเดียวกันก็สามารถทำงานให้ตัวเองได้ภายในกฏเกณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการไม่ทำตามมาตรฐานที่กำหนด
             4.8 การจัดการข้อมูล ปัญหาคือการแบ่งปันการใช้ข้อมูล การที่แผนกต่างๆ ต้องพยามยามจัดเก็บข้อมูลมาใช้เอง ทำให้ต้องทำงานซ้ำซ้อน และเกิดความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะฉะนั้นต้องหาทางประสานงานให้ผู้ใช้ทุกหน่วยงานแบ่งปันข้อมูลกัน
             4.9 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ การนำเทคโนโดลยีสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้นั้นเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกทำงานร่วมกับเราได้ ถ้าหากบุคคลภายนอกเหล่านี้ทำงานตรงไปตรงมาเราก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่บุคคลภายนอกบางคนอาจจะมีความประสงค์ร้าย คืออาจจะต้องการโจรกรรมข้อมูลของหน่วยงานไปใช้ หรือต้องการทำลายข้อมูลที่เราบันทึกเก็บไว้ ด้วยเหตุนี้ผู้บริหาร งานเทคโนโลยีสารสนเทศจึงจำเป็นจะต้องคิดหาวิธีที่จะป้องกันอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูล ไม่ให้ถูกบุคคลภายนอกทำลายได้ นอกจากบุคคลภายนอกแล้ว ระบบสารสนเทศและอุปกรณ์ต่างๆ ของเราอาจจะประสบอุบัติภัยในด้านต่างๆ ได้ตลอดเวลา
             4.10 ความสัมพันธ์กับผู้บริหาร เราต้องพยายามสร้างผลงานที่ผู้บริหารเห็นแล้วประทับใจ ต้องพยามยามชี้ว่าการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้นั้นคุ้มค่าเงินลงทุนและทำให้การทำงานโดยรวมมีประสิทธิภาพ
             4.11 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ งานวิจัยนี้อาจเป็นเพียงงานขนาดเล็กที่ทำเพื่อให้เข้าใจผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น เมื่อบริษัทไมโครซอฟต์นำระบบ Windows 95 ออกจำหน่าย ก็ต้องศึกษาวิจัยว่าซอฟต์แวร์นี้มีฟังก์ชันอะไรบ้าง แตกต่างจากระบบ Windows อื่นๆ อย่างไร ต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะมากขนาดไหน สมควรที่จะซื้อหามาใช้หรือไม่

5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีลักษณะเป็นแบบการประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะในสภาพสังคมปัจจุบัน มนุษย์สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิผลได้แก่
5.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้อง และสามารถจัดพิมพ์ฉบับซ้ำได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น
          ซึ่งการประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ เช่น งานจัดเก็บเอกสาร ได้แก่ การใช้เครื่องประมวลผลคำ (Word Processing) เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียมอุปกรณ์ประกอบการใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างแผนก หรือระหว่างหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกที่อยู่ห่างไกล ระบบประมวลผลคำนี้จำแนกได้ 2 ระบบคือ  ระบบ Stand - Alone เป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ภายในคอมพิวเตอร์ชุดเดียว โดยไม่ผ่านช่องทางการสื่อสาร และระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงสารสนเทศซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ เครือข่ายสารสนเทศ เป็นต้น
         




         
    งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ อาจกระทำได้โดยการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถปฏิบัติงาน ณ จุดนี้ได้โดยอัตโนมัติได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทเลเท็กซ์ โทรสาร ระบบการประชุมทางไกล เป็นต้น
              -งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถปฏิบัติได้ทั้งระบบออนไลน์และระบบออฟไลน์ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมรูปแบบอื่น เช่น ระบบงานฐานข้อมูล เป็นต้น
              -งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถดำเนินงานดังกล่าวนี้ได้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์สร้างภาพ (Computer Graphic Devices) เครื่อง Scanner โทรทัศน์ และวีดิทัศน์ เป็นต้น
              -งานสื่อสารสารสนเทศด้วยเสียง เช่น การใช้โทรศัพท์ การประชุมทางโทรศัพท์การบันทึกข้อมูลเสียงโดยใช้ Sound Blasterเป็นต้น
              -งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
          5.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) เข้ามาช่วยจัดการด้านผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ ในโรงงาน MIS จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผน การออกแบบผลิตภัณฑ์ การวิจัยเพื่อพัฒนา และมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการปฏิบัติการของเครื่องจักรในโรงงาน ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม ได้แก่
              อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ได้ใช้คอมพิวเตอร์แบบรถยนต์ ปฏิบัติการการผลิต การขับเคลื่อน การบริการ และการขาย รวมทั้งออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานในโรงงานได้ในรูปแบบหุ่นยนต์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มสมรรถนะในการผลิต และลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน
              อุตสาหกรรมการพิมพ์ อุตสาหกรรมประเภทนี้ ใช้ระบบการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) ในการจัดเตรียมต้นฉบับบรรณาธิกรณ์ตีพิมพ์ จัดเก็บ และจำหน่าย และสามารถพิมพ์ข้อมูลจากระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) วีดิโอเท็กซ์ วัสดุย่อส่วนและเทเลเท็กซ์ได้ รวมทั้งการพิมพ์ภาพโดยใช้เทอร์มินัลนำเสนอภาพ (Visual Display Terminal)
          5.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ สถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝากถอน โอนเงิน ในส่วนของ งานประจำธนาคารต่างนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยปฏิบัติงาน ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลธนาคารเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกสาขาสามารถเชื่อมโยงกับสาขาอื่นหรือสำนักงานใหญ่ และสามารถเชื่อมโยงกับธนาคารอื่นได้
          5.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการบริการการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) เป็นต้น
          5.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสาธารณสุข สามารถนำมาประยุกต์ได้หลายด้าน ได้แก่
                  ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System : HIS) เป็นระบบที่ช่วยด้าน Patient record หรือ เวชระเบียน ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน มีลักษณะแบบจุลภาค แต่สามารถขยายเป็นระดับมหภาคได้ เมื่อโรงพยาบาลทั่วประเทศแลกเปลี่ยน และส่งเวชระเบียนผ่านระบบโทรคมนาคมเป็นโทรเวชกลายๆได้
                 ระบบสาธารณสุข ใช้ในการดูแลป้องกันโรคระบาดในท้องถิ่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยเป็นอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน แพทย์และสาธารณสุขอำเภออาจตรวจค้นได้ว่าผู้ป่วยมาจากตำบลอะไร มีประชากรกี่คน เป็นชาย หญิง เด็ก เท่าไรเพื่อจะได้จัดหาวัคซีนไปฉีดป้องกันได้ทันที ระบบทำนองนี้อาจขยายไปสู่ ระดับอำเภอและจังหวัด
                 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์วินิจฉัยโรค และเริ่มผู้นำมาประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ มากขึ้น เลยไปถึงเรื่องโรคพืชและสัตว์หลักการที่ใช้ คือ เก็บข้อมูลต่างๆไว้ให้ละเอียด แล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial intelligence :AIมาช่วยวิเคราะห์ เป็นแนวคิดในการทำคอมพิวเตอร์ทำงานได้เหมือนคน ระบบนี้น่าจะช่วยอนามัยตำบลในการวินิจฉัยโรคได้ เป็นอีกหนทางหนึ่งที่เพิ่มจาก Tele – medicine ที่ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงต้องมาให้คำปรึกษาแนะนำด้านการตรวจอวัยวะภายในของมนุษย์ ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เรียกว่า Computer Tomography เป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจและอ่านผลตรวจสอบ นอกจากนี้ ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบที่ช่วยให้นักเรียนแพทย์และแพทย์ได้ใช้สารสนเทสที่ทันสมัย ตรงตามความต้องการซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการเรียนและการวินิจฉัยโรค
          5.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กับงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา
     การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษานั้น มีแนวทางในการใช้มากมายขึ้นแต่ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมี 6 ประเภท คือ
                  การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นการนำเอาคออธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายนั้นแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทดสอบความเข้าใจว่าถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็ต้องมีวิธีการอธิบานยเนื้อหาเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น แล้วถามซ้ำอีก ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาการถึงระดับใช้สื่อประสม และใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อให้การสอนบรรลุผลสัมฤทธิ์มากขึ้น
                  การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบ ตั้งแต่แบบง่ายๆ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงการใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct To Home : DTH)หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล (Video Teleconference) โดยใช้ผู้สอน และผู้เรียนสามารถสื่อสารถึงกันได้ทันทีเพื่อสอบถามข้อสงสัยหรืออธิบายคำสอนเพิ่มเติม
                  เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษา เพื่อให้ครู อาจารย์ และนักเรียนนักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อเสาะแสวงหาความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมายในโลก และใช้บริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การเผยแพร่ และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ซึ่งในปัจจุบันมีเครือข่ายสคูลเน็ต (School Net) ที่เนคเทคได้ส่งเสริมให้เกิดขึ้น และมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการนี้ประมาณ 60 โรงเรียน (พ.ศ. 2540) และยังมีเครือข่ายกาญจนาภิเษกที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการกระจายความรู้ให้กับประชาชนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้สารสนเทศแต่อย่างใด
                 การใช้งานห้องสมุด ในปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนเกือบทุกแห่ง ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้มีความร่วมมือในการให้การบริการในลักษณะเครือข่าย เช่น โครงการ PULINET (Provincial University Network) และโครงการ THAILINET (Thai Library Network) การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในห้องสมุด ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมากขึ้น เช่น บริการยืมคืน การค้นหาหนังสือ วารสาร สิ่งตีพิมพ์ต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
                 การใช้งานในห้องปฏิบัติการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานในห้องปฏิบัติการร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุมการทดลอง ซึ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยในปัจจุบัน ต่างผนวกความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปด้วยแทบทั้งสิ้น
                 การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียน นักศึกษา การเลือกเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กาแนะแนวอาชีพ และศึกษาต่อ ข้อมูลผู้ปกครอง หรือ ข้อมูลครู ซึ่งการมีข้อมูลดังกล่าว ทำให้ครูอาจารย์สามารถติดตาม และดูแลนักเรียนได้อย่างดีรวมทั้ง ครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น       

6. ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software )
          6.1 ความหมาย
ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม  คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้คนสามารถนัดพบปะ เชื่อมสัมพันธ์หรือทำงานร่วมกันโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง เกิดเป็นสังคมหรือชุมชนออนไลน์ คำนี้มีความหมายมากกว่าสื่อเก่า ๆ อย่าง Mailing List และ UseNet กล่าวคือหมายรวมถึง    E-mail ,  msn , instant messaging , web , blog และ wiki  สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วมกันเรียกว่า collaborative software ในการศึกษาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้น  เราต้องทำความเข้าใจกับคำว่า ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมก่อน ส่วนการจำแนกกลุ่มของซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้น ในตอนนี้แบ่งเป็น กลุ่มคือ กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และ กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการจัดการความรู้ เครื่องมือที่จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมมีลักษณะการใช้ประโยชน์ร่วมกันในสังคมมนุษย์ เช่น การติดต่อสื่อสาร  การแบ่งปันความรู้  การจัดการความรู้  เป็นต้น
                เป็นที่น่าสังเกตว่าซอฟต์แวร์บางประเภทเริ่มพัฒนาจากระดับล่างขึ้นบน ซึ่งสมาชิกเป็นอาสาสมัครและชื่อเสียงของซอฟต์แวร์ก็โตมาจากความเชื่อถือของสมาชิก  โดยมีจุดมุ่งหมายและแนวทางปฏิบัติตามอย่างที่สมาชิกในกลุ่มต้องการ ในทางตรงกันข้ามบางซอฟต์แวร์โตจากบนลงล่างโดยให้บทบาทผู้ใช้เป็นบุคคลนอกที่ต้องได้รับสิทธิก่อนการเข้าใช้ซอฟต์แวร์
                ซอฟต์แวร์สังคมมีจุดกำเนิดมาจากการร่วมมือกันระหว่างโปรแกรมเมอร์และกลุ่มคนทางสังคมที่ให้ความสนใจในประเด็นที่ต่างออกไปจากซอฟต์แวร์โดยทั่วไป เช่น โปรแกรมตารางคำนวณ  โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล  โปรแกรมบัญชี  โปรแกรมการลงทะเบียน เป็นต้น

6.2 ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
                เครื่องมือซอฟต์แวร์สังคม สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร และเครื่องมือเพื่อการจัดการความรู้
        1)  เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร แบ่งออกเป็น ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารสองฝ่ายไม่พร้อมกัน(asynchronous) คือไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากัน  ตัวอย่างเช่น การใช้ E-mail , Web board , Newsgroup เป็นต้น และอีกประเภทหนึ่งคือ เครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารคนสองคนหรือเป็นกลุ่มแบบสองฝ่ายพร้อมกัน (synchronous ) เช่น การสนทนาผ่านโปรแกรม Chat , ICQ , MSN  เป็นต้น
                 2) เครื่องมือเพื่อการสร้างการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในกลุ่มที่ใช้เพื่อประโยชน์เพื่อการจัดการความรู้  มีหลายอย่าง โดยแบบเบื้องต้นเช่น การสืบค้นข้อมูล  ส่วนในระดับถัดมา เป็นเครื่องมือเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกัน  รวมทั้งให้ความรู้ และสร้างความรู้ใหม่ เช่น Wiki , Blog เป็นต้น
                เครื่องมือที่ใช้ในการการปฏิสัมพันธ์ ต่างจากเครื่องมือเพื่อการสื่อสาร ตรงที่เครื่องมือเพื่อการปฏิสัมพันธ์นี้มุ่งเน้นเพื่อเสริมสร้างการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ใช้โดยอาศัยกลไลของการพูดคุยสนทนากัน
 
6.3 ตัวอย่างเครื่องมือทางสังคมต่าง ๆ
      1) Blog
         Blog มาจากคำเต็มว่า WeBlog บางครั้งอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน  Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์  ใน blog นั้นจะมีเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้  เช่น  การเขียนเรื่องราวของตนเอง  การเขียนวิจารณ์เรื่องราวหรือหัวข้อหรือสิ่งที่ตนเองสนใจต่าง ๆ  เช่น  การเขียนวิจารณ์สถานการณ์การเมืองของประเทศไทย   หรือการบอกถึงผลที่ได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมา เป็นต้น
Blog ประกอบด้วย ข้อความ, hypertext, รูปภาพ และ ลิงค์ (ไปยังเว็บวีดีโอข้อมูลเสียงและอื่นๆ) blog จะอยู่ในรูปบทสนทนาระหว่างเอกสาร โดยผู้ที่ใช้ blog สามารถเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นของตนเองได้  ซึ่ง blog มีทั้งเป็น blog เฉพาะบางกลุ่ม หรือเป็นblog ทั่ว ๆ ไปก็ได้ การเพิ่มบทความให้กับ blog ที่มีอยู่ เรียกว่า “blogging”   บทความใน blog เรียกว่า “posts”  หรือ “entries”บุคคลที่โพสลงใน “entries” เหล่านี้เรียกว่า “blogger”
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ Blog สามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง  ความสะดวกและง่ายในการเขียนBlog ทำให้สามารถเผยแพร่ความคิดเห็นของผู้เขียน blog ได้ง่ายขึ้น รวมถึงยังมีการ comment จากผู้ที่สนใจเรื่องเดียวกันได้อีกด้วย บางครั้งทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ เพราะบางครั้ง ข้อมูลจาก Blog เป็นข้อมูลที่ไม่เคยปรากฎที่ไหนมาก่อนอีกด้วย
เครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ที่เราใช้ในการเขียน Blog มีมากมาย เช่น WordPressMovable Type เป็นต้น  จึงมีผู้คนมากมายในโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq   นับได้ว่าBlog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ที่สำคัญอย่างแท้จริง 
Blog จะมีลักษณะบางประการที่แตกต่างจากเว็บเพจมาตรฐานทั่วไป blog จะมีอุปกรณ์ที่จะช่วยให้สร้างหน้าเว็บใหม่ได้ง่าย เช่น การใส่ข้อมูลใหม่(โดยมีหัวข้อประเภทและเนื้อความทำได้ง่าย มี template อัตโนมัติที่จะจัดการการเพิ่มบทความตามวันที่และหัวข้อเป็น archive มีการกรองเนื้อหาแยกตามวัน ประเภท ผู้แต่งหรืออื่น ๆ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ดูแลจัดการ blog สามารถเชิญ หรือ เพิ่มผู้แต่งคนอื่น โดยจัดการเรื่องการอนุญาตและการเข้าถึงข้อมูลเป็นไปโดยง่าย
Blog แตกต่างจากฟอรั่มหรือ newsgroup ตรงที่เฉพาะผู้แต่งหรือกลุ่มผู้แต่งที่จะสามารถสร้างหัวข้อใหม่ใน blog เครือข่ายของblog อาจเป็นเหมือนฟอรั่มในแง่ที่ว่าทุกหน่วยในเครือข่าย blog สามารถสร้างหัวข้อได้ในหน่วยนั้น ๆ เครือข่ายแบบนี้ต้องมีการเชื่อมโยงกัน group blog ที่มีหลายคนที่ post ข้อความได้ เป็นที่แพร่หลายทั่วไป หรือแม้แต่ blog ที่คนทั้งหลายโพสที่ blog ได้ โดยเจ้าของ blogหรือ บรรณาธิการของ blog จะเป็นผู้เปิดประเด็นการอภิปราย
ข้อความและ hyperlinks เป็นที่พบเห็นได้ทั่วไปตาม blog ต่าง ๆ  แต่บาง blog จะเน้นรูปภาพ (เช่น web comics และphotoblogs) และ วีดีโอ บาง blog ลิงค์ไปที่ไฟล์เสียง (podcasting) blog สำหรับ mp3 ก็มีข้อมูลเพลงแยกตามประเภท blog บางอย่างปรากฏเฉพาะบนมือถือเรียกว่า moblog  การจะพิจารณาว่า blog ใดได้รับความนิยมเพียงใดอาจจะพิจารณาจากการ อ้างอิงถึงและการเข้ารวมพวกและอ้างถึงกัน(affiliation) เพราะว่าสองอย่างนี้แสดงให้เห็นถึงว่าคนได้เข้ามาอ่านเนื้อหาและตัดสินใจว่ามีคุณค่าหรือไม่เพียงใด
           Blogger หลายคนสนับสนุนประเด็นการเคลื่อนไหวเรื่อง open source ธรรมชาติของการเผยแพร่โดยอิสระช่วยให้ blog ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก บาง blog นั้น ลูกจ้างอาจจะก่อรำคาญใจต่อนายจ้างและทำให้บางคนถูกไล่ออก
สำหรับกระแส open source เป็นวิธีที่ให้ประชาชนเข้าร่วมโดยตรงทางการเมือง bloggers หลายคนแปลกแยกตัวเองออกจากสื่อหลัก ๆ ในขณะที่ bloggers หลายคนใช้ blog ในทางอื่น เช่นส่งข้อความสู่สาธารณะ ปัญหาที่อาจจะตามมาได้สามารถเกิดจากการไม่เคารพทรัพย์สินทางปัญญาหรือการให้ข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือ แต่บางครั้งการสร้างข่าวลือก็เอื้อประโยชน์ต่อสื่อสารมวลชนที่สนใจเรื่องนั้น ๆ องค์กรข่าวมักจะไม่กล้าบอกข่าวที่จะทำให้ประชาชนไม่พอใจ แต่เมื่อ blogger เข้ามาสร้างข่าว นักข่าวก็จะชี้แจงข่าวลืออีกทีหนึ่ง
Blog ถูกมองว่าเป็นการรวบรวมความคิดของมนุษย์ สามารถนำมาใช้ช่วยกับปัญหาด้านจิตวิทยา เช่น โรคซึมเศร้าและการเสพติด นอกจากนี้ก็สามารถนำมาช่วยแก้ปัญหาอาชญากรรมได้ เช่น ในปี 2005 นาย Simon Ng ได้โพส entry ซึ่งในที่สุดช่วยจับตัวฆาตกรได้ ไม่เพียงเท่านั้น blog ยังส่งผลให้ชนกลุ่มน้อยที่มีผู้พูดและศึกษาภาษาของชนกลุ่มนั้น ๆ ไม่มาก มารวมกลุ่มกันเช่น Scottish Gaelic blogs ซึ่งอาจจะมีประชาการอยู่ประเทศคาคักสถานและในรัฐอลาสกา ดังนั้นblogging จึงเป็นช่องทางเผยแพร่งานพิมพ์อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ
      2)  Internet Forum                     Internet Forum เป็นส่วนหนึ่งใน World Wide Web ที่มีไว้สำหรับเก็บการอภิปราย หรือซอฟต์แวร์ที่ให้บริการด้านนี้ ฟอรั่มในเว็บเริ่มประมาณปี 1995 โดยทำหน้าที่คล้ายกับ bulletin board และ newsgroup ที่มีมากมายในยุค 1980s และ 1990s ความเป็นชุมชนเสมือนของฟอรั่มเกิดจากผู้ใช้ขาประจำ ประเด็นที่เป็นที่นิยมของฟอรั่มทั่วไปมี เทคโนโลยี เกมคอมพิวเตอร์ และการเมือง เป็นต้น 
Internet forums  อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถโพสหัวข้อลงไปในกระดาน  ผู้ใช้คนอื่นๆ ก็สามารถเลือกดูหัวข้อหรือม้กระทั่งโพสความคิดเห็นของตนเองลงไปได้   ฟอรั่มโดยส่วนใหญ่จะอนุญาตให้ใครก็ได้สามารถละเบียนเข้าใช้งานได้ตลอดเวลา  มีเพียงบางฟอรั่มที่จำกัดสมาชิกให้มีความเป็นส่วนตัวโดยอาจจ่ายเงินเพียงเล็กน้อยเพื่อเข้าใช้งานเป็นกลุ่มเฉพาะ เช่น  Forum รวบรวมเกมส์(http://www.thaigaming.com/forum) Forum เกี่ยวกับ computer และ internet (http://rcweb.net/forums )
          ฟอรั่มแต่ละที่ก็จะมีลักษณะการทำงานและการใช้งานแตกต่างกัน  เช่น บางที่สามารถใส่รูปภาพหรือแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ได้  บางที่มีโปรแกรมแปลและตรวจสอบการสะกดคำ เป็นต้น 
                3)  Wiki                       Wiki  อ่านออกเสียง "wicky", "weekee" หรือ "veekee"  เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อน แต่ Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม  , HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ   มีเครื่องมือที่ใช้ทำ Wiki หลายอย่าง เช่น Wikipedia , MoinMoin , WackoWikiเป็นต้น
Wikipedia  เป็นระบบสารานุกรม(Encyclopedia) สาธารนะ ที่ทุกคนสามารถใส่ข้อมูลลงไปได้ รองรับภาษามากกว่า 70 ภาษารวมทั้งภาษาไทย สำหรับภาษาไทยสามารถเข้าอ่านได้  
http://th.wikipedia.com 
      4)  Instant Messaging                    เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ relative privacy  ตัวอย่าง client ที่เป็นที่นิยมเช่น Gtalk  , Skype  , Meetro , ICQ , Yahoo Messenger  , MSN Messenger และ AOL Instant Messenger  เป็นต้น   ในการใช้งานดังกล่าวจะสามารถเพิ่มรายชื่อให้อยู่ใน contact list หรือ buddy list ได้  โดยการใส่ e-mail address หรือ messenger IDลงไป   ถ้าคนๆนั้น onlineขึ้นมา ชื่อของคนนั้นจะปรากฏขึ้นมาและสามารถ chat ได้โดยการคลิกไปที่ชื่อนั้นแล้วพิมพ์ข้อความที่ต้องการสนทนาลงไปใสช่องหน้าต่างที่กำหนดให้สำหรับพิมพ์ข้อความ  รวมถึงสามารถอ่านข้อความที่โต้ตอบได้โดยอาจผ่านหน้าจอเดียวกัน  เช่น โปรแกรม  Google Talk (http://www.google.com/talk/  )  ,  ICQ ( http://www.icq.com )  เป็นต้น
      5) Social network services                    Social network services  จะอนุญาตให้ใครก็ได้แบ่งปันความรู้  สิ่งที่สนใจต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น บางที่สร้างเพื่อเอาไว้นัดเดทกัน เพราะฉะนั้นผู้ใช้ก็อาจจะโพสข้อมูลส่วนตัว ที่อยู่ เพศ เบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้ผู้อื่นที่สนใจสามารถค้นหาข้อมูลได้โดยสะดวก  ตัวอย่างเช่น iKarma , ArtBoom , Orkut , Friendster , Linkedin , openBC, Facebook, Twitter เป็นต้น
      6)  Social guides                     เป็นที่สำหรับการนัดพบกันได้จริงๆ บนโลก เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร เป็นต้น  ตัวอย่างเช่น CafeSpot , Tagzaniaและ WikiTravel เป็นต้น
                7)  Social bookmarking                      บางที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถโพส list of bookmark ( favorite websites )  ลงไปได้เพื่อแลกเปลี่ยนแหล่งข้อมูลที่ตนเองสนใจ  เช่น Linko , Spurl , BlinkList , RawSugar เป็นต้น
                8)  Social Citations                      มีลักษณะคล้าย social bookmarking มาก  แต่จะเน้นไปทางด้านการศึกษาของนิสิต นักศึกษา โดยอนุญาตให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ งานวิจัย หรือสาระความรู้ที่สนใจ โดยสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ตามแต่ผู้ใช้จะจัดสรร ตัวอย่างเช่น  CiteUlink  เป็นต้น
                9)  Social Shopping Applications                      มีประโยชน์ในเรื่องการเปรียบเทียบสินค้า  ดูรายการสินค้า เป็นต้น ตัวอย่างเช่น SwagRoll, Kaboodle , thethingsiwant.com และ Yahoo! Shoposphere
                10)  Internet Relay Chat                       Internet Relay Chat หรือ IRC  จะอนุญาตให้ผู้ใช้สนทนาในห้อง chat rooms ซึ่งอาจมีหลายๆคนที่เข้าใช้งานในกลุ่มสนทนาในห้องดังกล่าว  ผู้ใช้สามารถสร้างห้องใหม่หรือเข้าไปในห้องที่มีอยู่แล้วก็ได้  ทั้งนี้ผู้ใช้คนนั้นๆ อาจพิมพ์ข้อความลงไปแล้วให้คนทั้งห้องอ่านได้  ซึ่งผู้ใช้ในห้องแต่ละห้องอาจจะมีการเข้าไปใช้งานและออกจากห้องสนทนาอยู่ตลอด   ผู้ใช้ยังสามารถเชิญผู้ใช้คนอื่นเข้ามาร่วมสนทนาในห้องที่ตนเองอยู่หรือเป็นผู้สร้างเองก็ได้  ซึ่งในการสนทนาระหว่างกันนั้นจะเป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง หรือหลายต่อหลายก็ได้
                11)  Knowledge Unifying Initiator (KUI)
                       Knowledge Unifying Initiator หรือเรียกย่อ ๆ ว่า KUI หรือ “คุย” ในภาษาไทยหมายถึงการสนทนา  โดยคำว่าKnowledge Unifying Initiator หมายถึง   กลุ่มผู้รวบรวมความรู้  โดย KUI จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์ทางสังคม(Social Software)  และการจัดการความรู้ (Knowledge anagement)   เนื่องจากภายในโปรแกรม  KUI  ประกอบด้วยโครงสร้างซึ่งแบ่งออกเป็น 3 หมวดหลักดังนี้
-Localization เป็นการเสนอคำแปลความหมายของประโยค วลี หรือคำศัพท์
-Opinion Poll เป็นการเสนอความคิดเห็นจากการสำรวจความคิดเห็น
-Public Hearing เป็นข้อเสนอแนะ การตีความ ประชาพิจารณ์ ร่างกฎหมาย
นอกจากนี้แล้วในแต่ละ 3 หมวดหลักก็จะมีรายละเอียดในแต่ละส่วนการทำงานแตกต่างกันไปอีก   โดย KUI  ซึ่งคาดว่าน่าจะมีประโยชน์ในการสร้างความรู้ใหม่ ๆ คือมีการเสนอประเด็นความเห็นร่วมกัน  ซึ่งโต้แย้งถกเถียงได้คล้ายเว็บบอร์ด   แต่มีสิ่งที่แตกต่างจากเว็บบอร์ด  คือ ถ้าประเด็นความเห็นใดสมาชิกให้คะแนน (Vote) น้อย หรือคนไม่สนใจ ประเด็นนั้นก็จะถูกลบออกไป  โดยเกณฑ์การให้คะแนน (Vote) นั้น ต้องมีสมาชิกให้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของสมาชิกที่ได้ทำการลงทะเบียนที่เป็นเช่นนี้เพราะเพื่อให้สมาชิกและบุคคลทั่วไปได้ความรู้ในเรื่องที่คนกลุ่มให้ความสนใจ   โดยไม่เป็นเรื่องไร้สาระ  นอกจากนี้แล้วยังมีการ chat ยังผู้ที่ล็อกอินอยู่ในขณะนั้นได้อีกด้วย   ซึ่งแต่ละหัวข้อที่มีการออกความเห็นยังสามารถดูรายละเอียดของการสนทนาในหัวข้อนั้นได้ด้วยสำหรับการใช้งานนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ สำหรับบุคคลทั่วไป และสำหรับสมาชิก โดยข้อแตกต่างระหว่างสมาชิกกับบุคคลทั่วไปคือ บุคคลทั่วไป   นั้นสามารถใช้ดูการแสดงผลในส่วนของผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกในการมีส่วนร่วมในแต่ละหัวข้อสูงสุดอันดับ  ดูการแสดงผลของแต่ละหัวข้อที่สมาชิกได้ร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็น โดยจะมีหัวข้อที่น่าสนใจเป็นส่วนที่แสดงผลหน้าแรก ในแบบสำรวจความคิดเห็นสามารถดูข้อสรุป ที่สมาชิกร่วมกันอภิปรายและร่วมแสดงความคิดเห็น ยังสามารถแสดงผลข้อความการพูดคุยของสมาชิกที่ร่วมกันอภิปรายในแบบสำรวจความคิดเห็น และใน Dictionary จะแสดงผลข้อมูลคำศัพท์ ข้ออภิปรายและข้อคิดเห็น ในแต่ละหัวข้อที่สมาชิกได้แปลความหมาย และสามารถค้นหาตามที่กำหนดได้  และอีกประการหนึ่งคือ Documentations เป็นการอธิบายการทำงานในแต่ละโมดูล ทั้งบุคคลทั่วไปและของสมาชิกส่วนสมาชิกสมาชิกสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและอภิปรายได้ แต่ถ้าหัวข้อใดที่สมาชิกเป็นคนเพิ่มเข้าไปเอง สมาชิกก็จะสามารถแก้ไขชื่อหัวข้อได้ด้วย  สามารถร่วมเสนอหัวข้อ แสดงความคิดเห็น  ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับแบบสำรวจความคิดเห็น  และสามารถบอกได้ว่าเรากำลังสนใจหัวข้อใด แสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่คิดว่าน่าจะถูกต้อง โดยการโหวต และถ้าต้องการที่จะเสนอข้อคิดเห็นเพื่อให้เพื่อนสมาชิกเข้ามาร่วมอภิปรายเพิ่มเติม  ฯลฯ  
นอกจาก KUI จะเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยรวบรวมความรู้ต่าง ๆ  แล้ว  โปรแกรม KUI ยังมี User Interface ที่ง่ายต่อการใช้งาน    โดยในองค์กร หน่วยงานต่าง    สามารถนำโปรแกรม KUI  ไปใช้ได้

6.4 การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคม
               ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software) ใช้ประโยชน์ในการประมวลทางสังคม (Social computing) ในยุคที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นทุนในการพัฒนาสังคม ในยุคนี้มีความจำเป็นจะต้องสร้างระบบที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากสมาชิกในสังคมให้มากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมใหม่ให้กับภาคประชาสังคม เพื่อให้ประชาคมในทุกภาคส่วนได้มีโอกาสที่จะเข้าถึงและทำงานเพื่อสังคมของตนด้วยตนเอง ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นในการออกแบบซอฟต์แวร์เพื่อสังคมจึงเน้นให้เป็นความเป็นปัจเจก (individual) ของบุคคลไว้ การให้โอกาสปัจเจกบุคคลสามารถแสดงออกสู่สาธารณะโดยมีกระบวนการที่สนับสนุนให้มีการตอบสนองจากสังคมอย่างเท่าเทียมเป็นปารถนาสูงสุดของการประมวลทางสังคม
          บล็อก (blog) หรือที่บางคนเรียกว่ากล่องข้อความ เป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่สามารถใช้เพื่อการเสนอ (Post) ข้อความต่อผู้อื่นในสังคม โดยสามารถให้ผู้อ่านบล็อกมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น (comment) ต่อข้อความที่เสนอได้โดยปกติแล้วผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปจะสามารถใช้บล็อกได้โดยไม่ต้องมีความรู้ทางเทคนิคมากนัก เมื่อบุคคลมีบล็อกของตนเองแล้วเขาย่อมมีโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องราวต่าง ๆ ที่เขาคิดเห็นว่าเขาควรมีส่วนร่วมได้ด้วยตนเองและเขาย่อมจะมีสิทธิที่จะขอรับความคิดเห็นจากผู้อ่านบล็อกของเขาได้บล็อกจะเรียงลำดับเหตุการณ์จากปัจจุบันไปอดีต จึงเป็นโอกาสที่ผู้ใช้จะบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้บันทึกได้ในทุก ๆ เรื่อง ตามประสงค์ของผู้บันทึก ดังนั้นบล็อกจึงสามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้นในกระบวนการจัดการความรู้ การสร้างลักษณะนิสัยให้ประชาชนในสังคมรักการบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในบล็อกจะเป็นประโยชน์อย่างมากในอนาคตของสังคมนั้น
          ปัจเจกวิธาน (folksonomy) เป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่สามารถใช้ประโยชน์ในการจัดหมวดหมู่ แห่งสรรพสิ่งที่ผู้ใช้สนใจ โดยผู้จัดหมวดหมู่เป็นผู้กำหนดเอง เป็นการให้โอกาสผู้ใช้เป็นผู้เลือกจัดและเป็นผู้เรียกใช้คืนได้ตามที่ได้จัดไว้ ยังไม่มีปัจเจกวิธานตัวใดที่สามารถใช้จัดหมวดหมู่ได้ทุกสรรพสิ่ง แต่มีซอฟต์แวร์ปัจเจกวิธานเฉพาะเรื่องให้เลือกใช้จำนวนหนึ่งเช่นการจัดหมวดหมู่ของรูปภาพ สามารถใช้บริการที่http://www.flickr.com การกำหนดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ สามารถใช้บริการที่ http://www.tagzania.com หรือการจัดหมวดหมู่ลิงค์เชื่อมโยงในอินเทอร์เน็ตที่สนใจได้แก่ http://del.icio.us โดยปัจเจกวิธานในเรื่องสาขาใดก็จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดหมวดหมู่ในสาขานั้น ๆ อย่างไรก็ตามหลักการที่ถูกใช้ในการจัดนั้น ๆ เป็นอิสระจากอำนาจทั้งปวง เป็นเอกสิทธิ์ของผู้จัดหมวดหมู่โดยแท้ ประโยชน์อย่างมากของปัจเจกวิธานคือการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสจัดหมวดหมู่สารสนเทศที่สามารถใช้เป็นแหล่งความรู้ได้ด้วยตนเองได้โดยปราศจากการบงการ (เพียงแต่ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์) จากผู้อื่นหรือจากระบบแต่อย่างใด
          เจตจำนงสำคัญของการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมอีกอันหนึ่งก็คือ การเปิดโอกาสปัจเจกบุคคลได้มีโอกาสในการสื่อสารต่อสาธารณะเพื่อประมวลสังคมของพวกเขาได้ด้วยตนเอง การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคมก็เช่นเดียวกัน ที่เป็นเรื่องที่ปัจเจกบุคคลจะมีอิสรเสรีในการเลือกประโยชน์ที่ต้องการด้วยตนเอง ดังนั้นคำตังในเรื่องประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคมจึงเป็นคำตอบที่ท่านต้องตั้งคำถามให้ไว้กับตนเองตอบนั่นเอง
          การจัดการความรู้ (Knowledge management)   เป็นเรื่องที่รู้จักกันมานานแล้ว เทคนิคที่ใช้ในการจัดการความรู้นั้นก็มีมากมายหลายวิธี เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้เพื่อการจัดการความรู้ก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่กระบวนการในการจัดการความรู้นั้นก็ยังเหมือนเดิม โดยหัวใจของกระบวนการในการจัดการความรู้ก็ยังคงความสำคัญอยู่ที่การแบ่งปันความรู้เหมือนเดิม อย่างไรก็ตามในยุคแห่งความรุ่งเรืองของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนี้ ได้มีความพยายามในการนำเอาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการจัดการความรู้มากขึ้น นับตั้งแต่ การค้นหาความรู้ การจัดเก็บความรู้ด้วยวิธีการสร้างฐานความรู้ (Knowledge base) และในกระบวนการแบ่งปันความรู้ก็มีการส่งเสริมการนำซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วมกันดังเช่นกรุ๊ฟแวร์ (groupware) มาใช้ประโยชน์
          โปรแกรม “คุย”หรือ “KUT” (ย่อมาจาก Knowledge Unifying Initiator) ก็เป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมตัวหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันในสังคม ในลักษณะของการแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นการเปิดโอกาสให้ปัจเจกบุคคลสามารถเข้ามาทำงานร่วมกัน โดยแต่ล่ะคนมีอิสรเสรีในการนำเสนอความรู้ในเรื่องที่ตนสนใจ โปรแกรม “คุย” ใช้หลักการของการเคารพความเห็นของส่วนรวมปฏิบัติตามความคิดของคนส่วนใหญ่ แต่ยังรับฟังความคิดเห็นที่ดีของคนส่วนน้อย โปรแกรมคุยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชน และใช้ประโยชน์เพื่อจรรโลงสังคมได้ ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมคุยสารมารถถูกนำไปใช้ใน โครงการเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีในภารกิจของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ด้วยการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้ในภารกิจของคณะกรรมการตรวจสอบ และเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่คณะกรรมการตรวจสอบสามารถใช้เพื่อแจ้งข่าวสารข้อเท็จจริงและสารสนเทศอื่น ๆ ที่สามารถส่งเสริมและสร้างความเข้าใจอันดีต่อกิจกรรมการตรวจสอบของคณะกรรมการการฯ ได้เป็นต้น นอกจากนั้นโปรแกรม “คุย” ยังสามารถนำไปใช้ในการให้ข้อคิดเห็นในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยิ่งไปกว่านั้นในอนาคตโปรแกรม “คุย” ยังสามารถถูกพัฒนาต่อยอดให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อสังคมในรูปแบบอื่น ๆ ตามสถานการณ์ได้อีก
          ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่ใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการความรู้ ยังมีอีกมากแต่ที่เป็นที่น่าสนใจได้แก่ วิกิ (WiKi) มีการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์วิกิที่สำคัญยิ่งในการสร้างสารนุกรมที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้มาร่วมกันสร่างสารสนุกรม ดังเช่น http://www.wikipedia.org หรือวิกิพีเดียในภาคภาษาไทยโดยตรงที่ http://th.wikipedia.org เป็นต้น ในปัจจุบันวิกิพีเดียถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ
          อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่ดีพึงคงคุณลักษณะของการเปิดพื้นที่ให้กับปัจเจกบุคคลในการสื่อต่อสาธารณะโดยมีการควบคุมน้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้การประมวลสังคม เป็นไปอย่างอิสระปราศจากการครอบงำจากเจ้าของเทคโนโลยีให้มากที่สุดดังนั้นการสร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมใด ๆ พึงตระหนักถึงหลักการเคารพในสิทธิปัจเจก (Individual) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

7. การสืบค้นสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต

          อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ จนได้รับสมญานามว่า ห้องสมุดโลก” ซึ่งมีข้อมูลหลากหลายประเภทและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในการที่เราจะค้นหา  ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับแหล่งข้อมูลนี้ นั่นคือ มักประสบปัญหาไม่ทราบว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ในเว็บไซต์ใด  ดังนั้นจึงได้มีเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า  เครื่องมือช่วยค้น หรือ เซิร์ชเอ็นจิน (Search Engine) ในการสืบค้นข้อมูลนั้นถ้าหากเราทราบแหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์ เราก็สามารถพิมพ์หรือระบุ URL ในช่อง Address ได้เลย  แต่ถ้าหากเราไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูลนั้นอยู่ที่ใด เราสามารถใช้เว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ช่วยในการค้นหาได้อย่างรวดเร็ว

 

          7.1 ลักษณะรูปแบบการค้นหาสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต มี 3 ลักษณะ คือ
               1) การค้นแบบนามานุกรม (Directory) หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด  ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรมนี้มีข้อดีคือ   ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ และสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้ว เว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรม เช่น www.yahoo.comwww.lycos.com www.sanook.com www.siamguru.com  เป็นต้น
untitled.bmp
ภาพประกอบ 6.1 การแบ่งกลุ่มของ Yahoo Directory

               2)  การค้นหาแบบดรรชนี (Index) หรือคำสำคัญ (Keywords)
          เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ (Keyword) ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนีค้นที่เรียกว่า Spider หรือ Robot หรือ Crawler ทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนำคำที่ค้นมาจัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ  ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพจใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบนามานุกรม แต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย เช่น การใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic)หรือโอเปอเรเตอร์ (Operator)  เป็นต้น  โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร
  
     3) การค้นหาแบบ Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engineประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูดดังนั้น หากจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย

7.2 เครื่องมือประเภทใช้โปรแกรมค้นหา (Search engines)
     โปรแกรมค้นหาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ ค้นคืนสารสนเทศบน World Wide Web กันอย่างแพร่หลาย จัดทำดรรชนีของเนื้อหาเอกสารบนเว็บไซต์ทีละหน้าโดยจัดทำดรรชนีด้วยเครื่องกล (machine indexing หรือ automatic indexing) ซึ่งเรียกว่า  spider, robot หรือ crawlers เครื่องมือประเภทนี้จึงมีจำนวนเอกสารมากกว่าเครื่องมือประเภทจัดหมวดหมู่  เครื่องมือประเภทนี้เป็นนิยามที่แคบของคำว่า search engines  (นิยามที่กว้างของ search engines คือ เครื่องมือช่วยค้นทุกวิธีที่มีให้บริการในอินเตอร์เน็ต)
        ข้อดีของการใช้โปรแกรมค้นหาคือ ครอบคุลมเนื้อหากว้างขวางและละเอียดเนื่องจากจัดทำดรรชนีทีละเว็บเพจ และ ฐานข้อมูลมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเป็นปัจจุบันตลอดเวลา เนื่องจาก spider จะตรวจสอบและจัดทำดรรชนีอย่างสม่ำเสมอ มีการเพิ่มหน้าเว็บเพจใหม่ และตัดหน้าเว็บเพจที่ไม่ทำงานออกไปโดยอัตโนมัติอย่างน้อย 1 ครั้งในแต่ละวัน แต่ข้อจำกัดของการค้นด้วยโปรแกรมค้นหาคือความเกี่ยวข้องของผลการสืบค้นน้อย เนื่องจากการจัดทำดรรชนี จัดทำโดยอัตโนมัติจากการนับจำนวนคำที่ปรากฏในส่วนแรกของเว็บเพจ และอาจปรากฏผลการสืบค้นซ้ำจากเว็บไซต์เดียวกัน เนื่องจากจัดทำดรรชนีทีละเว็บเพจ จึงส่งผลให้ได้ผลการสืบค้นมาก ผู้ใช้ต้องไล่ดูผลการสืบค้นจำนวนมาก ทำให้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ยาก
        ตัวอย่างเครื่องมือชนิดนี้ ได้แก่ Lycos (http://www.lycos.com) Asks (http://www.asks.com) Hotbot (http://www.hotbot.com) Google (http://www.google.com) ซึ่งปัจจุบัน ได้รับความนิยม  สูงสุด  Google มีพัฒนาการคล้ายคลึงกับ Yahoo คือ กำเนิดมาจากโครงการพัฒนาวิธีการและเครื่องมือ สืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เนตของนักศึกษาระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด 2 คน ในปี พ.. 2541 และพัฒนาจนอยู่ในรูปบริษัทในปี พ.. 2542  โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะจัดให้มีระบบที่สามารถช่วยให้เข้าถึงข้อมูลมหาศาลในอินเตอร์เนตได้อย่างมีประสิทธิภาพ   Google เริ่มได้รับความนิยมสูงในปี พ.. 2543 โดยเป็นเครื่องมือสืบค้นบน  World Wide Web ที่ได้รับคะแนนสูงสุด ใน ตัว    จากกองบรรณาธิการนิตยสาร PC Magazine  (PC Magazine. 2000) และได้พัฒนามาจนเป็นเครื่องมือสืบค้นที่มีจำนวนเว็บเพจที่นำมาทำดรรชนีมากที่สุด ในปี พ.. 2547 
         Google มีจุดแข็งในเรื่องเทคโนโลยีการสืบค้นที่รวดเร็ว การเรียงลำดับผลการสืบค้นที่มีความเกี่ยวข้องสูง และการสืบค้นเป็นภาษาท้องถิ่นต่างๆ ในโลกเกือบ 100 ภาษา รวมทั้งภาษาไทย จึงทำให้ได้รับความนิยมและเครื่องมือสืบค้นหลายตัวที่ใช้เทคโนโลยีของGoogle เช่น AOL iWon และ Netscape เป็นต้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น