วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติ Swensen's


ประวัติ Swensen's

   Swensen's  ก่อตั้งขึ้นโดย Earle Swensen ซึ่งต้องการที่จะมีร้านไอศกรีมส่วนตัวจึงได้ทำการเปิดร้านไอศกรีมขึ้นที่ San Francisco ในปี 1948 The Minor Food Group คือบริษัทผู้ได้รับเฟรนไชส์ของ Swensen's ในประเทศไทย รู้จักกันดีกับไอศกรีมซันเด Swensen's ได้พัฒนาต่อเนื่องมานานหลายปีจนเกิดเป็นสาขาร้านอาหารบรรยากาศสบายสไตล์ครอบ ครัว ที่ไม่ได้มีเสิร์ฟเฉพาะไอศกรีมเท่านั้น แต่มีทางเลือกที่มากขึ้นอย่างอาหารหลากหลาย ของหวานและเครื่องดื่ม เค้กไอศกรีมและสามารถสั่งห่อกลับบ้านได้ เวลา 26 ปี ในสิงคโปร์ Swensen's กลายเป็นชื่อที่คุ้นเคย แรกเริ่ม Swensen's เปิดเป็นร้านอาหาร 200 ที่นั่ง ที่ Thomson Plaza ในปี 1979 ปัจจุบันมีสาขาร้านอาหารบริการครบ 21 สาขา เสิร์ฟเมนูตลอดช่วงวันทั้งอาหาร และไอศกรีมซันเด ล่าสุดมีสิ่งที่เพิ่มเติมสำหรับครอบครัวคือ Swensen's at Compass Point เปิดเมื่อ กันยายน ปี 2005 สาขาทุกสาขามีบริษัท ABR Holdings จำกัด เป็นเจ้าของและบริหารงาน เป็นบริษัทที่มีรายชื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ รวมไปถึงการจัดการแฟรนไชส์ใหญ่ๆ ABR ควบคุมแฟรนไชส์ใหญ่ใน สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ออสเตรเลียและจีน อีกด้วย Swensen's ยังพยายามและบรรลุผลสำเร็จในการรับรอง Halal ทั้งในสิงคโปร์และมาเลเซีย
     ใน ปี 1948 เมื่อ Earle Swensen เปิดร้านไอศกรีมร้านแรกของเขาในซานฟรานซิสโก บน Russian Hill ได้นำเสนอไอศกรีมแบบที่ว่า ”ดีเท่าที่พ่อเคยทำ” สิ่งเล็กๆที่เขาคิดคือ Swensen's เป็นชื่อที่ตั้งใจให้เป็นคำที่มีความหมายว่า ไอศครีมพิเศษอันเอร็ดอร่อย ที่โลกรู้จักกัน ตั้งแต่นั้นมาไอศกรีมกว่า 180 รสชาติ ได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นและเป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้คนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้ Earle Swensen ได้ชื่อว่า ” America 's Ice Cream Man” คนรักไอศกรีมทั้งหลายต่างก็เห็นด้วยกับชื่อนี้ เพราะปัจจุบันร้านไอศกรีม Swensen's มีสาขามากกว่า 200 แห่ง ทั่วโลก ทั้งในเอเชีย , ตะวันออกกลาง , สหรัฐอเมริกา และอเมริกาใต้ 







ประวัติของ    Earle Swensen

     ความเป็นมาของ Swensen's เริ่มต้นจากการชอบในไอศกรีมของกลาสีเรือชาวอเมริกัน Mr.Earle Swensen's เมื่อเขาพบเครื่องทำไอศกรีมขนาดใหญ่ในเรือ ที่เขาประจำการในปี ค.ศ.1942 จึงใช้เวลาว่างคิดค้นไอศกรีมรสต่างๆ แจกจ่ายเพื่อนฝูงจนกระทั่งปลดประจำการแล้วเขาได้เปิดร้าน "Swensen's Ice Cream" ณ มุมถนนยูเนียนและไฮด์ในเมืองซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนียในปี ค.ศ.1948 ในระยะแรกของการเปิดร้านเขามักแจกตัวอย่างไอศกรีมให้ลูกค้าได้ลองชิมและแสดง ความคิดเห็นเพราะเชื่อว่าคนที่ชอบรับประทานไอศกรีม Swensen's ของเขาควรมีส่วนในการทำไอศกรีมนั้นเอง ด้วยความพิถึพิถันในการเลือกส่วนผสมชั้นเยี่ยมและบริการ อย่างเป็นกันเองจนเป็นที่ประทับใจของลูกค้าทำให้ร้านไอศกรีมตามแบบฉบับดั้ง เดิมเล็ก แห่งนี้กลายเป็นกิจการที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ต่อมาในปี ค.ศ.1963 บริษัทได้ขยายกิจการออกไปในรูปแบบเฟรนไชส์ โดยในปี ค.ศ.1983 สตีฟส์ ไอศกรีม ได้รับช่วงดำเนินการต่อโดยสืบทอดคุณภาพ กรรมวิธีการผลิตและรสชาติตามแบบดั้งเดิม ขยายเครือข่ายจนปัจจุบันมีเครือขายร้านอยู่ทั่วโลก ในปี ค.ศ.1986 The Minor Group ได้ซื้อลิขสิทธิ์กิจการไอศกรีมสเวนเซ่นส์มาดำเนินการในประเทศไทยโดยเปิดที่ เซ็นทรัล พลาซ่าลาดพร้าวเป็นสาขาแรก ในไม่ช้าสเวนเซ่นส์ก็กลายเป็นร้านไอศกรีมที่อยู่ในความนิยมของชาวไทยอย่าง รวดเร็วจนมาถึงวันนี้ได้เปิดสาขาในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย โดยยึดคุณภาพมาตราฐานเดียวกันกับต้นตำรับอเมริกัน ด้วยส่วนผสมที่คัดสรรจากความสดใหม่ คุณภาพเยี่ยม และไขมันเนย 14%ให้ความเข้มขน หวานมัน พร้อมคุณค่าทางโภชนาการ นอกจากนี้ยังมีไอศกรีมสูตรพิเศษตามฤดูกาล อาทิไอศกรีมมะม่วง ให้เลือกอีกด้วย





คอนเซปต์ของ Swensen’s 

    มีพื้นฐานบนคอนเซปต์ The American Fountain การออกแบบร้าน Swensen’s ได้ทำเป็น dining area รวมเข้าไป มีลักษณะเป็นบูธ และบรรยากาศงานเลี้ยง ประดับประดาด้วยโคมไฟทิฟฟานี่ แวดล้อมโดยรอบถูกออกแบบให้อบอวลไปด้วยความอบอุ่นและเป็นกันเอง  ด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นกันเองและบรรยากาศสบายๆ Swensen’s ได้สร้างตัวมันเองให้เป็นสถานที่ที่ลูกค้ามากกมายสามารถเข้ามาได้ และแต่งตัวตามสบาย จะมาเป็นกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ หรือจะเป็นโอกาสพิเศษต่างๆ นี่คือสถานที่ ที่คุณสามารถเป็นตัวของคุณเอง 



ความคิดพื้นฐานของ Swensen’s 

    มีการพัฒนาให้เป็นไปใน คอนเซปต์ห้องอาหารบรรยากาศสบายๆ ผลิตภัณฑ์หลักๆของ Swensen’s ยังคงเป็นไอศกรีมชั้นเยี่ยม โดยเฉพาะการทำซันเด ซันเดที่มีชื่อเสียงที่สุดเป็น Earthquake 8 ชั้น เวลาเสิร์ฟจะมีควันจากน้ำแข็งแห้งในแก้วด้วย ไอศครีมอีกอย่างที่น่าดึงดูดคือ ไอศครีม Coit Tower ได้แรงบันดาลใจจาก San Francisco Landmark และ Gold Rush ในวันบุกเบิกตะวันตกยุคเก่า ด้วยความดึงดูดใจ ไอศกรีมซันเด จึงถูกตั้งมั่นให้เป็นผลิตภัณฑ์หลัก เมนูของ Swensen’s มีมากพอที่จะทำให้ประสบการณ์อาหารเย็นสมบูรณ์แบบและดึงดูดทุกเพศทุกวัย รูปแบบเมนูอาหารเต็มรูปแบบมาเป็นลำดับจาก ซุปต่อมาเป็นสลัด พาสต้า ต่อมาก็ขนมปัง แซนด์วิชและแฮมเบอร์เกอร์ และอาหารหลักประประเภทต่างๆ รวมถึง ปลาและมันฝรั่งทอด ที่เคยได้รับความนิยม  Swensen’s ยังได้พัฒนาความแปลกใหม่ที่ให้ลูกค้าเฉลิมฉลองกับเค้กไอศกรีมที่บ้าน ที่เต็มไปด้วยควันน้ำแข็งแห้งรักษาความเย็น ทำให้มีการพัฒนากล่องโฟมขึ้นมา เรียกกันว่า Swensen’s Cool Box ที่ทำให้เค้กไอศกรีมยังคงรูปและเย็นนาน 6ชั่วโมง มีเค้กไอศกรีมสำหรับสั่งกลับบ้านให้เลือกถึง 34 แบบ Swensen’s ยังได้รับอนุญาตให้ใช้ตัวละครดิสนีย์ทำเป็นเค้กไอศครีม ได้จับเอาตัวละครที่คุ้นเคยกันดีในลักษณะท่าทางในแบบที่มีชีวิตชีวาเหมือน ต้นตำรับ 57 รูปแบบด้วยกัน มีทั้ง มิคกี้เมาส์  สโนวไวท์  ซินเดอเรลล่า  เจ้าหญิงนิทรา  วินนี่เดอะพูห์  ปลาน้อยนีโม  ลิโลและสติทช์  ดิอินเครดิเบิลส์ และชิคเก้นลิตเติ้ล 





กระบวนการผลิตไอศกรีม 
  1. นำส่วนผสมที่ได้มาตรฐานและไอศกรีมมิกซ์ผสมกันตามสูตร
  2. ใส่ลงในเครื่องทำไอศกรีม
  3. ปั่นส่วนผสมและมิกซ์จนเป็นไอศกรีมเนื้อนุ่ม
  4. บรรจุไอศกรีมเนื้อนุ่มในถังพลาสติกแล้วการผ่านการฆ่าเชื้อ
  5. แช่ในตู้แช่แข็ง (Hard Box) ที่มีอุณหภูมิ -35 องศา เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
  6. นำมาแช่ในตู้แช่ธรรมดาที่มีอุณหภูมิ -20 องศา
ส่วนผสมของไอศกรีม
มีไขมันเนย 14%
ไขมัน

  1. นมผงขาดมันเนย
  2. น้ำตาล
  3. สารเสริมคุณภาพ



ประวัติของ G-Shock


        ประวัติของ G-Shock




ประวัติ G-Shock - IGOTDIZ [street stlyin' story]
บางครั้งจุดเริ่มต้นของบางสิ่งบางอย่างอาจจะเริ่มต้นขึ้นได้ด้วยความประหลาดใจ เช่นดังตัวอย่างของ บริษัทนาฬิกา Casio เป็นต้น ถ้าให้คุณเดาว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกของ Casio คืออะไร คุณอาจจะคิดว่าเป็นเครื่องคิดเลขหรือไม่ก็ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอิเลคทรอนิคส์ทั่วๆ ไป คุณคิดผิด!!! บริษัท Casio ก่อตั้งขึ้นโดย มิสเตอร์ Tadao Kashio ในปี ค.ศ. 1946 ซึ่งเข้าใจได้ว่าก่อตั้งขึ้นนั้นภายหลังประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศเข้าร่วม สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่ง ณ. ตอนนั้นสถานการณ์ทางการเงินในประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างย่ำแย่มาก เมื่อมิสเตอร์ Kashio เริ่มงานในบริษัทของเขา เขาเป็นเพียงวิศวกรประกอบซึ่งคาดหวังว่าอยากหาเวลาพักผ่อนยาวๆ สำหรับตัวเขาเอง
แต่การหาเวลาพักผ่อนสำหรับ เขานั้นไม่มีใครเหมือน เพราะ มิสเตอร์ Tadao Kashio ได้ใช้เวลาว่างในการพักผ่อนทำการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเขาเองขึ้นมา ชิ้นแรกเรียกว่า Yubiwa Pipe โดยมันถูกออกแบบมาเพื่อใช้เตือนเวลาบนนิ้วมือคน โดยมันถูกใช้เพื่อคอยคีบบุหรี่ เพื่อให้ผู้สูบบุหรี่สามารถสูบบุหรี่จนถึงก้นกรองได้โดยไม่ต้องใช้มือคอยจับ บุหรี่อันเนื่องมาจากความร้อน ซึ่งทำให้คนงานสามารถที่จะสูบบุหรี่ได้โดยมือทั้งสองข้างยังคงทำงานได้อย่าง ต่อเนื่อง ไม่ต้องคอยมาจับบุหรี่ซึ่งถือว่าเป็นการลดเวลาที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์มาก
คงจะเห็นได้แล้วว่า Mr. Kashio เป็นนักประดิษฐ์ผู้สร้างสรรค์ เขาจึงมักจะค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์ของเขาเสมอ และแล้วที่งานแสดงสินค้าที่ เมือง Ginza ประเทศญี่ปุ่นในปี 1949 เขาก็คิดค้นเครื่องคิดเลขซึ่งมียอดขายตาม yubiwa pipe มาติดๆ ตัวเขาและพี่น้องต่างก็พากันทดลองเพื่อสร้างสรรค์เครื่องคิดเลขของพวกเขาเอง ขึ้นมา และอีกไม่นานนัก Casio ก็เปิดตัวเครื่องคิดเลขสายพันธุ์ใหม่ในปี 1954 ซึ่งเป็นเครื่องคิดเลขแบบแรกที่ใช้ ขดลวดsolenoids และยังมีแป้นพิมพ์ของตัวเลข 10 หลัก และมีหน้าจอเดียวเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่มีถึงสามหน้าจอ และในปี 1957 Casio ก็ได้เปิดตัวเครื่องคิดเลขรุ่น Model 14-A ซึ่งเป็นเครื่องคิดเลขอิเลคโทรนิคสมบูรณ์แบบเครื่องแรกที่ใช้เทคโนโนยี relay และในปีเดียวกันนั้นเองยังเป็นปีที่บริษัท Casio Computer ได้รับการก่อตั้งขึ้น
ประวัติ  G-Shock - IGOTDIZ [street stlyin' story]
บริษัทฯ เปิดตัวนาฬิกาข้อมือรุ่นแรกในตลาดเดือนพฤศจิกายนปี 1974 ในขณะที่ตลาดเองในขณะนั้นเพิ่งจะค้นพบเทคโนโลยีดิจิตอลขึ้นซึ่งทางบริษัทเอง เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถพัฒนานาฬิกาที่จะเป็นผู้นำตลาดได้
นาฬิกาที่เป็นที่จดจำได้ มากที่สุดคงหนีไม่พ้นนาฬิกาเครื่องคิดเลขที่ทางบริษัทผลิตขึ้น ซึ่งเป็นนาฬิกาข้อมือที่มีทั้งการทำงานแบบนาฬิกาที่มาพร้อมกับแป้นพิมพ์ตัว เลขขนาดจิ๋วละม้ายคล้ายคลึงเครื่องคิดเลข ซึ่งเหมาะกับความต้องการอย่างมาก สำหรับอาจารย์ที่สอนคณิตศาสตร์ โดยที่จะสามารถใช้เครื่องคิดเลขได้ทุกทีโดยไม่ต้องพกพาและสามารถที่จะช่วย เหลือนักเรียนที่ไม่ค่อยคล่องกับด้านตัวเลขอีกด้วย
นอกจากนาฬิกา เครื่องคิดเลขแล้วคาสิโอยังพัฒนานาฬิกาข้อมือไปอีกระดับด้วยการสร้างสรรค์ นาฬิกาข้อมือที่สามารถให้ข้อมูลที่น่าสนใจหลายประการให้กับผู้เป็นเจ้าของ เช่น บอกเวลาที่แตกต่างกันของแต่ละ time zone บอกสภาพอากาศ อุณหภูมิ และความดัน นักปีนเขาก็มักจะชอบรุ่นที่สามารถบอกระดับความสูงได้ ในขณะที่ผู้ผลิตนาฬิการายอื่นยังคงนำเสนอรายละเอียดของนาฬิกาข้อมือในแบบ เดิมๆ คาสิโอก็ยังคงนำเสนอรูปแบบของนาฬิกาที่หลากหลายพร้อมการใช้งานที่น่าสนใจใน รูปแบบนาฬิกาข้อมือแบบดั้งเดิม
ประวัติ  G-Shock - IGOTDIZ [street stlyin' story]
นาฬิกา G-shock เป็นนาฬิกาที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่วัยรุ่น ด้วยสีสันที่สวยสด งดงาม และเตะตา ไม่แปลกใจเลยถ้าวัยรุ่นจะไม่ใส่กัน แต่ในความสวยงามนั้น ก็มีเทคโนโลยีดีดีที่ทาง Casio บรรจงใส่ลงไปในนาฬิกา G-shock ทุกเรือน
G-shock เกิดขึ้นจากความฝันของวิศวกรหนุ่มคนหนึ่งที่ทำงานอยู่ในบริษัท Casio ที่ญี่ปุ่น    Kikuo Ibe เขาเป็นผู้คิดค้นขึ้นมา ในปี ค.ศ. 1981, Kikuo Ibe และทีมสร้างของเขาได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า นาฬิกา G-shock ต้องมีคุณสมบัติ “Triple 10” คือ รองรับการกันกระแทกจากที่สูงได้ถึง 10เมตร, กันน้ำในความดัน 10Bar หรือ ที่ความลึก 100 เมตร และแบตเตอรี่สามารถใช้งานได้นานถึง 10ปี แต่ความคิดนี้ก็ไม่เป็นที่สำเร็จ แต่เขาก็ไม่ท้อ เขาได้ทดลองทำนาฬิกาต้นแบบมามากกว่า 200 แบบ จนได้แนวคิดใหม่เป็นนาฬิกาที่มีส่วนประกอบเป็นชิ้นส่วนที่กันกระแทกอย่างดี G-shock ตัวแรกคือ DW-5000 เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1983 และอีกประมาณ 2 ปี ก็ได้เริ่มผลิตอย่างเป็นทางการ วัสดุใน G-shock เป็นวัสดุที่ได้ทำการทดลองมาหลายครั้งจนได้วัสดุที่ดีเยี่ยม ทำให้ G-shock เป็นนาฬิกาที่มีความทนทานสูง
จนถึงวันนี้ นาฬิกา G-shock ก็ได้โลดแล่นอยู่บนข้อมือมานาน 30ปีแล้ว ในปี ค.ศ.2013 นาฬิกา G-shock ก็ได้มีอายุ 30ปีพอดี ในปีนี้ก็คงจะมีนาฬิการุ่นพิเศษจาก G-shock ออกมากันมากมาย มารีดทรัพย์ในกระเป๋าตังค์วัยรุ่นอย่างเราๆได้กันมากมาย
โครงสร้างตัวเรือนกลวง
โครงสร้างตัวเรือนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะนี้เปิดโอกาสให้เราสร้างสรรค์นาฬิกา G-SHOCK เรือนแรก ความลับในการทำงานของโครงสร้างรุ่นนี้คือการกระจายแรงกระแทกด้านนอกโดยการทำให้โมดูลด้านใน "ลอย" ไปตามตัวเรือนพร้อมกับมีจุดช่วยรองรับเพียงแค่ไม่กี่จุดเท่านั้น ในเวลาต่อมาเราก็ประสบสำเร็จในการเพิ่มคุณสมบัติการต้านแรงกระแทกไปที่ตัวโมดูลเองผ่านทางนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่
โครงสร้างตัวเรือนกลวง


ป้องกันรอบทิศทาง

กะเปาะโค้งมนช่วยรับรองว่าปุ่มต่างๆจะไม่สัมผัสกับพื้นราบหากตกพื้น
กรอบที่ปกคลุมรอบช่วยป้องกันไม่ให้ปุ่มต่างๆที่เชื่อมต่อกับโมดูลได้รับการกระแทกและกรอบที่ว่านี้จะอยู่ในสภาวะ "พร้อมรับมือ" เสมอเพื่อป้องกันปุ่มจากการโดนกระแทก
ป้องกันรอบทิศทาง



ทนทานต่อแรงโน้มถ่วง

 ทนทานต่อแรงโน้มถ่วง
G-SHOCK สามารถทนทานต่อแรงโน้มถ่วงได้เกินกว่าระดับ 15G ซึ่งเป็นระดับพื้นฐานที่เครื่องบันทึกข้อมูลการบินและบันทึกเสียงในห้องนักบินต้องรับได้ตามมาตรฐานการทดสอบอัตราเร่งต่อเนื่องของอุปกรณ์การบิน (มาตรฐาน ISO2669) จากการทดสอบสามารถยืนยันได้ว่าฟังก์ชันการทำงานต่างๆรวมถึงฟังก์ชันการจับเวลาที่มีความถูกต้องถึง 1/100 วินาทีสามารถทำงานได้ตามปกติในสภาวะที่อยู่ในเครื่องบินที่มีความเร็วสูงหรือสถานการณ์ที่มีแรงเหวี่ยงตามแรงโน้มถ่วงสูง

ทนทานต่ออุณหภูมิต่ำ
ทนทานต่ออุณหภูมิต่ำ
เนื่องจาก G-SHOCK สามารถทำงานได้ตามปกติที่อุณหภูมิติดลบมากๆ ผู้สวมใส่จึงมั่นใจได้ว่านาฬิกาจะยังสามารถทำงานได้แม้อยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็นมากหรืออยู่บนเขาสูง

ทนทานต่อแรงสั่น
ทนทานต่อแรงสั่น
การทนทานต่อแรงสั่นรุนแรงที่มีประสิทธิภาพเสมอทำให้ G-SHOCK เป็นนาฬิกาที่เหมาะต่อสภาวะที่สั่นสะเทือนสูง เช่น การขับรถบนถนนขรุขระที่ต้องใช้ความเร็วสูงเป็นต้น

ทนทานต่อการกระแทกตกพื้น
ทนทานต่อการกระแทกตกพื้น
เพื่อลองประเมินแรงกระแทกรูปแบบต่างๆที่อาจเกิดกับนาฬิการะหว่างที่มีการใช้งาน เราจึงได้ทดสอบปล่อยนาฬิกาตกพื้นที่จะทำให้เกิดสภาวะการกระแทกที่แตกต่างกันในแต่ละครั้ง จุดประสงค์ในการทดสอบนี้ก็เพื่อยืนยันว่านาฬิกาจะยังทำงานได้ตามปกติแม้ว่าจะเกิดการกระแทกที่ไม่สามารถคาดเดาได้

ทนทานต่อแรงกระแสไฟฟ้า
ทนทานต่อแรงกระแสไฟฟ้า
G-SHOCK สามารถทนทานต่อแรงกระแสไฟฟ้าที่อาจรบกวนการทำงานของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ในเครื่องได้ทำให้มั่นใจได้ว่านาฬิกาจะทำงานได้ตามปกติในสภาวะที่อาจมีไฟฟ้าสถิตได้





วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน


แบบฝึกหัด

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 
                                                                                                      
                                                                                                                            กลุ่มที่เรียน 1
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                       รหัสวิชา  0026 008
ชื่อ-สกุล นายสุรเดช ช่ำชอง     รหัส  56010911904


คำชี้แจง จงพิจารณากรณีศึกษานี้

1.) "นายA ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ
IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นายB ที่เป็นเพื่อนสนิทของนายA ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาวC เมื่อนางสาวC ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆที่รู้จักได้ทดลอง"
การกระทำอย่างนี้ผิดจริยธรรมหรือผิดกฎหมายใดๆหรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใดและหากผิด ผิดในแง้ไหนจงอธิบาย

ตอบ.  เป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม คือ นาย B และนางสาว C ไม่ได้ทำการขออนุญาติ นาย A อย่างถูกกิจลักษณะ อาจทำให้นาย A เสียหายได้ และผิดกฎหมาย คือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) สาระของกฎหมายนี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัว ไม่ให้มีการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ


2.) "นายJ ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐานอ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาใดๆ เด็กชายK เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายที่ทำรายงายส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนายJ" การกระทำอย่างนี้ผิดจริยธรรมหรือผมกฎหมายใดๆหรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง้ไหน จงอธิบาย

ตอบ.  ผิดเพราะการกระทำนี้อาจกระทำขึ้นด้วยความสนุกสนาน ไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิดความเสื่อมเสียถึงผู้ใด แต่การกระทำเช่นนี้อาจทำให้เกิดความรำคาญแก่ผู้อื่น จึงเป็นการทำผิดจริยธรรมโดยตรง ทั้งการปลอมหลักฐาน และการหลอกลวง โดยไม่มีการทำการพิสูจน์ และยืนยันจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถและขาดความน่าเชื่อถือ อาจทำให้ตนเองหมดความน่าเวื่อถือไปด้วย

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ


แบบฝึกหัด

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ                                                                       กลุ่มที่เรียน 1
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                       รหัสวิชา  0026 008
ชื่อ-สกุล นายสุรเดช ช่ำชอง     รหัส  56010911904


เนื้อหา
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับข้อมูล สารสนเทศ ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ ความสำคัญ ประเภท คุณสมบัติของสารสนเทศ ตลอดทั้งแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
แนวคิด
          เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายของข้อมูล และสารสนเทศ เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ ความสำคัญ ประเภท และคุณสมบัติของสารสนเทศ อีกทั้งแหล่งของสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
วัตถุประสงค์
          1. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
          2. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจในความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
          3. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ ประเภทของสารสนเทศ
          4. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
กิจกรรมระหว่างเรียน
          1. นิสิตต้องศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากห้องสมุดด้วยตนเอง
          2. จัดให้มีกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษาในชั้นเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
          3. นิสิตต้องทำรายงานประกอบการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูล และสารสนเทศคนละ 1 หัวข้อ




1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewall) คือ มาตรการหนึ่งที่ใช้ต่อสู้กับไวรัสคือ ไฟร์วอลล์ อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์เป็นอย่างมาก โดยผู้คนเหล่านั้นต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายของตนเองกับอินเตอร์เน็ตเพื่อที่จะได้รับประโยชน์ต่าง ๆ เช่นเพื่อหาข้อมูลเพื่อทำการค้า เป็นต้น แต่การกระทำดังกล่าวทำให้ใครก็ได้บนอินเตอร์เน็ตสามารถเข้ามายังเครือข่ายนั้น ๆ ได้ จึงเกิดปัญหาเรื่องความปลอดภัยของระบบเครือข่ายเช่นการถูกระบบ และขโมยข้อมูล เป็นต้น
          จากปัญหาดังกล่าวทำให้เราต้องมีวิธีการในการรักษาความปลอดภัย สิ่งที่สามารถชวยลดความเสี่ยงนี้ได้ก็คือ ไฟร์วอลล์
          ไฟร์วอลล์ คือ รูปแบบของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ที่ถูกจัดตั้งอยู่บนเครือข่ายเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายภายใน (Internet) โดยป้องกันผู้บุกรุก (Intrusion) ที่มาจากเครือข่ายภายนอก (Internet) หรือเป็นการกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย โดยสามารถกระทำได้โดยวิธีแตกต่างกันไป แล้วแต่ระบบ
          ถ้าผู้บุกรุกมาจากเครือข่ายภายในระบบนี้จะป้องกันไม่ได้ สิที่ป้องกัน เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus), หนอนคอมพิวเตอร์ (worm), การโจมตีแบบ Dos (Denial of service), ม้าโทรจัน (Trojan Horse), ip spoofing ฯลฯ โดยมีลักษณะการบุกรุกดังนี้ เช่น
               - Virus จะแย่งให้หรือทำลายทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ เช่น ไฟล์ข้อมูล, แรม ฯ
               Worm จะแย่งใช้ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ เช่นเขียนไฟล์ขยะลงบนฮาร์ดดิสก์ จนทำให้ฮาร์ดดิสก์เต็ม
          ไฟร์วอลล์ มีขีดความสามารถในการไม่อนุญาตการ Login สำหรับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าใช้งานในเครือข่าย แต่ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ใช้งานจะมีสิทธิ์ใช้งานทั้งภายใน และติดต่อภายนอกเครือข่ายได้ โยจำกัดข้อมูลจากภายนอกเครือข่าย ไม่ให้เข้ามาในเครือข่าย นับเป็นจุดสังเกตการณ์ตรวจจับและรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย เปรียบได้ดังยามที่ทำหน้าที่เผ้าประตูเมือง
          อย่างไรก็ตาม Firewall ไม่สามารถป้องกันการโจมตีจากภายในเครือข่ายกันเอง รวมทั้งไม่สามารป้องกันการบุกรุกที่ไม่สามารถมากับโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ไวรัส และอันตรายในรูปแบบวิธีใหม่ ๆ ได้ สรุปว่า Firewall นั้นจำทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่าง ๆ จากภายนอกที่จะเข้ามายังเครือข่ายของเรานั่นเอง
          Firewall ที่ใช้งาน จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ก็ยังต้องขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรนั้น ๆ รวมถึงจิตสำนึกในการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้ในองค์กรเป็นสำคัญ


2. จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm,virus computer,spy ware,adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม  

เวอร์ม (Worm)
          เวอร์มหรือมาโครไวรัส (Macro Virus) หมายถึงโปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่น ๆ โดยจะแพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ที่อยู่บนเครือข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายกับตัวหนอนที่เจาะไซหรือซอกซอนไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ และแพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอก (Copy) ตนเองออกและส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป เวอร์มเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ใช้มาโครโปรแกรม (Macro Programming) ที่อยู่ในโปรแกรมประยุกต์ในการกระจายหรือแพร่พันธุ์ตัวเอง เช่น มาโครในโปรแกรมไมโครซอฟต์เวอร์ด (Microsoft Word) หรือไมโครซอร์ฟเอ็กเซล (Microsoft Excel) ดังนั้นเมื่อมีการรันโปรแกรมสคริปต์หรือมาโคร เวอร์มจะทำการแพร่กระจายตนเอง ตัวอย่างเช่น เวอร์มที่แนบมากับแฟ้มในอีเมล เมื่อผู้รับเปิดแฟ้มดังกล่าว เวอร์จะเริ่มทำงานทันทีโดจะคัดลอกตนเองและจะถูกส่งไปกับอีกเมลไปให้ผู้อื่นต่อ ๆ ไป


3. ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง 

ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ไวรัสคอมพิวเตอร์มีหลายสายพันธุ์ แต่ละชนิดต่างก็มีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน อาทิเช่น
              - ไวรัสบางสายพันธุ์จะทำการนำขยะหรือข้อมูลอื่น ๆ ไปซ้อนทับข้อมูลเดิมบางส่วนที่ถูกต้องอยู่แล้วในแฟ้มข้อมูลหนึ่ง ๆ ทำให้แฟ้มข้อมูลเดิมผิดเพี้ยนไปจากเดิม
              - ไวรัสบางชนิดจะทำการควบคุมการทำงานของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แทนระบบเดิม โดยกำหนดให้ระบบปฏิบัติการหยุดการทำงานบางหน้าที่ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบคอมพิวเตอร์
              - ไวรัสคอมพิวเตอร์บางชนิดจะทำการเพิ่มเติมบางคำสั่ง (Embedded Commands) ลงในโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะส่งผลให้ระบบปฏิบัติการแสดงผลเป็นข้อความอันเป็นเท็จทางจอภาพ เพื่อเตือนให้ผู้ใช้ทำอะไรบางอย่าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบฯ ได้
              - ไวรัสบางสายพันธุ์จะทำการเปลี่ยนข้อมูลจำนวนเล็กน้อยในโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลหนึ่ง ๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจำนวนน้อยนี้จะทำให้เจ้าของไม่รู้สึกว่าแฟ้มข้อมูลของตนได้รับเชื้อไวรัสเป็นที่เรียบร้อย เมื่อมีการใช้แฟ้มหรือสำเนาแฟ้มดังกล่าวไปยังมี่อื่น ๆก็จะส่งผลให้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นได้รับเชื้อไวรัสไปด้วย


4. ให้นิสิตอธิบายแนวทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ

แนวทางหรือมาตรการในการป้องกัน (Security Measures)
- องค์กรมีนโยบายหรือมาตรการให้ผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทุกคนต้องเปลี่ยนรหัสผ่าน (Password) บ่อย ๆ หรืออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
               - มีการกำหนดสิทธิให้ผู้ใช้ระบบเข้าใช้ระบบในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น
               - องค์กรอาจมีการนำอุปกรณ์ตรวจจับทางชีวภาพ (Biometric devices) มาใช้ในการควบคุมการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์
               - มีการเข้ารหัสข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
               - มีระเบียบปฏิบัติในการควบคุมอย่างชัดแจ้งในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
               - ให้ความรู้อย่าสม่ำเสมอในเรื่องการรักษาความปลอดภัย การเตรียมตัวและการป้องกันการบุกรุกของแฮกเกอร์ (Hackers)หรือแครกเกอร์ (Crakers) รวมถึงขั้นตอนการดูแลรักษาระบบคอมพิวเตอร์เมื่อถูกบุกรุก
               - องค์กรควรมีการดูแลและการตรวจตราข้อมูล แฟ้มข้อมูล รวมถึงการสำรองแฟ้มข้อมูลและระบบ
คอมพิวเตอร์รวมถึงระบบเครือข่าวอย่างสม่ำเสมอ
- การเก็บข้อมูลหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา (Log files)


5. มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่

ปัจจุบัน ภัยคุกคามอันเกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีมากมาย หนึ่งในภัยจากอินเทอร์เน็ตคือเรื่องเว็บลามกอนาจาร ปัจจุบันมีความพยายามที่จะแก้ไขปราบปรามการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง โดยมีประเด็นนี้คือ
          “ผู้ใดประสงค์แจกจ่ายแสดง อวดทำ ผลิตแก่ประชาชนหรือทำให้เผยแพร่ซึ่งเอกสาร ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ แถบยันทึกเสียง บันทึกภาพหรือเกี่ยวเนื่องกับสิ่งพิมพ์ดังกล่าว มีโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ”
          โดยจะบังคับใช้กับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต เซิร์ฟเวอร์ รวมถึงสื่อทุกประเภทอย่างจริงจัง ตัวอย่างซอฟต์แวร์เพื่อดูแลการแก้ไขและป้องกันภายทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ เอาส์ คีพเปอร์ (House Keeper) เป็นโปรแกรมสำกรับแก้ปัญหา “ภาพลามกอนาจาร เนื้อหาสาระที่ไม่เหมาะสม การใช้เว็บไม่เหมาะสมไม่ควร ฯลฯ” โดยนำไปติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน สารวัตรอินเตอร์เน็ตหรือไซเบอร์อินสเปคเตอร์เป็นอีกหน่วยงานที่สอดส่องภัยอินเทอร์เน็ต สารวัตรอินเทอร์เน็ตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บล็อกเว็บไซต์ไม่เหมาะสมและเก็บฐานข้อมูลไว้
          นโยบายจากกระทรวงไอซีที ด้วยตระหนักในการทวีความรุนแรงของปัญหา จึงเกิดโครงการ ไอซีที ไซเบอร์แคร์ (ICT Cyber Care) โดยต่อยอดจากไอซีทีไซเบอร์คลีน (ICT Cyber Clean) แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
             1) ICT Gate Keeper เฝ้าระวังพิษภัยอินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายและวงจรเชื่อมต่อระหว่างประเทศ (Gateway) พัฒนาซอฟต์แวร์นี้โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงไอซีที ได้มอบหมายให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังปิดกั้นข้อมูบไม่เหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง
             2) House Keeper ซึ่งจัดทำเป็นแผ่นซีดีรอม และแจกฟรีให้กับผู้ปกครองหรือดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บไซต์ของกระทรวง โปรแกรมนี้จะมี 3 ส่วน
                     - ส่วนแรก คิดดี้แคร์ ปิดกั้นเว็บไซต์อนาจารและเว็บที่ไม่เหมาะสมที่กระทรวงไอซีที มีข้อมูลคาดว่าจะช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
                     - ต่อมาเป็นส่วนพีเพิลคลีน ติดไอคอนไวที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะคลิกเข้าไปเมื่อพบภาพลามกอนาจาร ประชาชนจึงสามารถเข้ามามีบทบาทช่วยเฝ้าระวังภัยได้เช่นกัน
                     - ส่วนสุดท้าย สมาร์ทเกมเมอร์ (Smart Gamer) แก้ปัญหาการติดแกม และควบคุมการเล่นเกมของเด็ก ๆ ผู้ปกครองจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาของการเล่นเกมและช่วยดูแลเรื่องความรุนแรงของเกม แต่ละส่วนนี้คงต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา