วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดบทที่ 1 เรื่องแนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่


แบบฝึกหัด

     บทที่ 1 (กิจกรรม1)                                                                                          กลุุ่มเรียนที่   1
     รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                          รหัสวิชา   0026 008
     ชื่อ-สกุล   นายสุรเดช ช่ำชอง       รหัสนิสิต   56010911904


     จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ
     
     1.ข้อมูลหมายถึง  ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ 
 ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล    ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น 


     2.ข้อมูลปฐมภูมิคือ  ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม หรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติต่างๆ ที่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลให้ เช่น เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก เครื่องอ่านลายนิ้วมือ เป็นต้น ข้อมูลปฐมภูมิจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ได้มาจากจุดกำเนิดของข้อมูลนั้น ๆ เช่น 
   ยกตัวอย่างประกอบ เช่น
     ข้อมูลการมาโรงเรียนของนักเรียน จากการสอบถามเพื่อนนักเรียน
     - ข้อมูลคะแนนทดสอบก่อนเรียน จากการตรวจกระดาษคำตอบ
     - การจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงจากการสังเกตและทดลองต่างๆ



     3.ข้อมูลทุติยภูมิคือ   เป็นแหล่งของข้อมูลที่ได้จากรายงาน หรือถ่ายทอดมาจากข้อมูลชั้นต้น หรือนำข้อมูลปฐมภูมิมาสังเคราะห์และเรียบเรียงขึ้นใหม่ เพื่อเสนอข้อคิดหรือแนวโน้มบางประการ ด้วยเหตุนี้ข้อมูลหรือหลักฐานนั้นจึงถูกรายงานโดยผู้ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมหรือเป็นพยานในเหตุการณ์นั้น ผู้เขียนจะรายงานหรือถ่ายทอดในสิ่งที่ผู้อยู่ในเหตุการณ์พูด หรือเขียน หรือถ่ายทอดในลักษณะต่าง ๆ ไว้ หรืออาจจะถ่ายทอดมาหลายทอดก็ได้  การนำมาใช้ในการวิจัยจึงต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ นอกจากนั้น ข้อมูลที่ได้อาจไม่ทันสมัย ดังนั้นในการค้นหาข้อมูลทุติยภูมิจึงต้องเลือกค้นหาข้อมูลที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ส่วนข้อดีของข้อมูลทุติยภูมิคือ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการค้นหาข้อมูล 
   ยกตัวอย่างประกอบ เช่น
หนังสือทั่วไป หนังสือตำรา หนังสือคู่มือการทำงาน รายงานความก้าวหน้าทางวิทยาการ บทคัดย่องานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ วารสารสาระสังเขป 

     4.สารสนเทศหมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความ อย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่น ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมหรือสัญญาณระบบต่างๆ การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบดาวเทียม การจองตั๋วเครื่องบิน การกดเงินจาก ATM เป็นต้น
    
      5.จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ  

ตอบ 5.1 จำแนกตามแหล่งสารสนเทศคือ การจัดแบ่งตามการรวบรวมหรือจัดทำสารสนเทศ ออกเป็น 3 แหล่งดังนี้
แหล่งปฐมภูมิหมายถึง สารสนเทศที่ได้จากต้นแหล่งโยตรง เป็นสารสนเทศเชิงวิชาการ มีการเผยแพร่ผลการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่มเติม มีข้อมูลเหตุผลที่เชื่อถือได้
แหล่งทุติยภูมิหมายถึง สารสนเทศที่ได้รวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากสารสนเทศปฐมภูมิ อาจทำในรูปของการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนี สาระสังเขป เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว เข้าใจง่าย ได้แก่ สื่ออ้างอิง วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมทั้งหนังสือตำราที่รวบรมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน รวมทั้งสารานุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่างๆ ดรรชนีวารสารและสาระสังเขป เป็นต้น
แหล่งตติยภูมิหมายถึง สารสนเทศที่รวบรวมขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ ไม่ให้ความรู้สาระเนื้อหารโดยตรง แต่ใช้ประโยชน์เพื่อการค้นหาเฉพาะสาขาวิชาต่างๆได้ ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม ปัจจุบันมีการจัดทำเป็นบันทึกข้อมูลไว้ในสื่อคอมพิวเตอร์ออกเผยแพร่ ในรูปของ CD-ROM ฐานข้อมูลออนไลน์
 
5.2 จำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ คือการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล หรือตามเทคโนโลยีที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง ได้แก่
กระดาษ เป็นการเก็บข้อมูลสารสนเทศที่ใช้บันทึกได้ง่ายที่สุด ทั้งการขีดเขียน การพิมพ์ นิยมใช้มาจนถึงปัจจุบัน
วัสดุย่อส่วน คือสื่อทีถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่างๆ ทั้งเป็นม้วนหรือเป็นแผ่น เรียงลำดับเนื้อหาตามต้นฉบับ เช่น เอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ เอกสารสำคัญ แบบฟอร์ม บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ เป็นต้น
สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็น อะนาล็อก Analog และดิจิตอล Digital เช่น เทปบันทึกเสียง เทปวีดิทัศน์ ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ ปัจจุบันสามารถแก้ไขปรับปรุงได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
สื่อแสงหรือสื่อออปติก เป็นสื่อที่ได้รับการบันทึก และอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เป็นข้อมูลดิจิตอลอ่านโดยทั่วไปจะอ่านได้อย่างเดียว เช่น CD-ROM, VCD, DVD ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษกว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อแม่เหล็ก


      6.ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคืออะไร

ตอบ ข้อมูล


7.ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น
ตอบ สารสนเทศ


8.ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น
ตอบ ข้อมูลทุติยภูมิ

     9.ผลของการลงทะเบียนเป็น
ตอบ สารสนเทศ

10.กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชา วิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน Section วันอังคารเป็น
ตอบ ข้อมูลปฐมภูมิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น